www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

จำนวนผู้ชม

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร


วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

[แก้ไข] ประวัติ
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"

ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี




[แก้ไข] สถานที่สําคัญภายในวัด
[แก้ไข] พระวิหารหลวง
พระวิหารหลวงเป็นอาคารเครื่องก่อขนาด 5 ห้อง กว้าง 23.84 เมตร ยาว 26.25 เมตร โครงสร้างหลังคาเป็นจั่วมีหลังคาประธาน 1 ตับ มีชั้นซ้อน(หลังคามุข) ทางด้านหน้าและด้านหลังข้างละ 1 ชั้น และมีหลังคาปีกนกลาดลงจากหลังคาประธานข้างละ 3 ตับ หลังคามุขทางด้านหน้าและด้านหลังมีหลังคาปีกนกลาดลงข้างละ 2 ตับ มีเสารับมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 12 ต้น ทั้งสองด้านรวม 24 ต้น และเสานาง เรียงด้านข้าง ด้านละ 6ต้น รวมทั้งหมดจึงเป็นเสา 36 ต้น เสานางเรียงและเสารับมุขหัวเสาเป็นปูนปั้น

[แก้ไข] ศาลาลอย
ศาลาลอยมีฐานหรือยกพื้นสูงอยู่ระดับเดียวกับกำแพง เรียงกันอยู่ตามแนวกำแพงด้านหน้า หรือด้านทิศเหนือทั้งหมด 4 หลัง รูปแบบทรงไทยผสมจีนและยุโรป หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นศาลาหลังริมที่อยู่ด้านตะวันออก เป็นศาลาเปลื้องเครื่องของพระมหากษัตริย์ ก่อนที่จะเสด็จเข้าสู่พระวิหาร ศาลาหลังที่ 2 ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่องมีเกยสำหรับเทียบเสด็จเข้าด้านหน้า ซึ่งยังมีเกยสำหรับเทียบอยู่ สำหรับศาลาอีกสองหลังถัดไปนั้นคงเป็นสถานที่สำหรับประทับทอดพระเนตรพระราชพิธีโล้ชิงช้าของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยก่อน




[แก้ไข] ศาลาดิน
ศาลามีฐานหรือยกพื้นต่ำ เรียงตามแนวกำแพงวัดในเขตพุทธาวาส ด้านทิศตะวันออก ทั้งหมดมี 4 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไย หลังคาจั่วมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นลายดอกไม้และเถาแบบจีนศาลาทั้ง 4 หลังนี้เดิมใช้เป็นที่จัดเตรียมเครื่องไทยธรรม ก่อนที่จะนำเข้าพิธีในบริเวณพระวิหารหลวงหรือพระอุโบสถ




[แก้ไข] พระอุโบสถ
พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ยาวสวยงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดฯเกล้าให้สร้างขึ้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2377 สำเร็จเรียบร้อยปี พ.ศ.2386 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสถาปัตยกรรมไทย ขนาดกว้าง 22.60 เมตร ยาว 72.25 เมตร เป็นอาคารสูงใหญ่มากมีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด 68 ต้น หลังคา 4 ชั้น และชั้นลด 3 ชั้น มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลาย

ประดับกระจกสี ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบก บนราชรถเทียมราชสีห์ มีคติความเชื่อว่าพะรอาทิตย์เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวันพระวรกายเป็สีแดง สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวบานหมายถึงการห้ามอุปัทวันตรายทั้งปวง ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกสลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า มีคติความเชื่อว่า พระจันทร์เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางคืน พระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลมพระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ การสลักหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ หมายถึงว่า พระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนรอบเขาพระสุเมรุ คือพระวิหารหลวง




[แก้ไข] ศาลารายพระอุโบสถ
เป็นศาลาก่ออิฐถือปูนเตี้ยชั้นเดียวหลังคาจั่วทรงไทยมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นลายดอกและเถาแบบจีนซุ้มประตู แบบจตุรมุขกั้นแนวเขตระหว่างเขตพุทธาวาส กับเขตสังฆวาส







ชื่อสามัญ :วัดสุทัศนเทพวราราม
ความพิเศษ:พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย
ที่ตั้ง: แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เจ้าอาวาส พระวิสุทธาธิบดี ( วีระ ภทฺทจารี ปธ. ๙ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น