www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

www.trueplookpanya.com

จำนวนผู้ชม

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สุภาษิตสอนหญิง


สุภาษิตสอนหญิง




[แก้ไข] สุภาษิตสอนหญิง
ในสมัยก่อนมีการเปรียบผู้หญิงเหมื่อนผ้าขาวสะอาด ซื่งถ้าเปรอะเปื้อนสิ่งใดแม้แต่น้อย ก็เกิดเป็นจุดตำหนิเสียแล้ว และตำหนิที่ว่านี้ก็เกิดได้โดยง่ายนัก ดังนั้นคนสมัยก่อนจึงจำเป็นต้องหาทางป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิดตำหนิในผ้าขาว และหาทางแก่ไขในกรณีที่ได้เกิดขึ้นแล้ว จึงได้มี..สุภาษิต.. หรือสุภาษิตสอนหญิงเกิดขึ้นในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ป้องกันแก้ไขตำหนิต่างๆได้เป็นอย่างดี สุภาษิต ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย สุภาษิตสอนหญิง เป็นที่รวมเเห่งคติในการครองตัวของหญิงตามวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม เป็นที่ยกกย่องเเพร่หลายสืบต่อกันมาช้านาน เเส่วนมากคงถือปฏิบัติทุกวันนี้ จะมีเลิกถอนตามคตินิยมอย่างใหม่บ้างเพียงบ้างประการ เช่นการกราบเท้าสามีเมื่อเข้านอน หรือการรับประทนอาหารหลังสามีเป็นตัน

[แก้ไข] ตัวอย่างสุภาษิตสอนหญิง
[แก้ไข] บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงใช้พระนาน แฝงในการนิพนธ์สุภาษิตนี้ว่า อัญชัญ
“ขอประพันธ์จรรยาสุภาษิต ไว้เตือนจิตหญิงไทยในสยาม ทั้งเริ่มรุ่นลักขณาสง่างาม อยู่ในความดำริควรตริตรอง เป็นสตรีนี้ไซร้มิใช่ง่าย สงวนกายเราไว้อย่าให้หมอง จะยากจนค่นไร้วิสัยทอง ย่อมจะต้องมีค่าราคาแพง เหมือนพิกุลดีจริงไม่ทิ้งกลิ่น ถึงตกดินจมทรายไม่หน่ายแหนง ยังหอมหวานชวนชื่นระรื่นแรง จนเหี่ยวแห่งไม่ทรามความนิยม แต่หอมกลิ่นมาลาที่ว่าหอม ชั่วถนอมเชยชิดสนิทสนม เฉพาะเมื่อจับต้องประคองชม เวลาดมชั่วครั้งไม่ยั้งยืน อันหอมนามความดีสตรีนั้น ไม่มีวันทรามเชยระเหยหืน ถึงมาตรแม้นตัวตายไม่คลายคืน ยังหอมชื่นชูนานเพราะความดี..”

“เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย ต้องประกอบด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี ถึงไม่ครบทั้งห้าตามสามี สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา อันงามรูปงามทรัพย์บังคับยาก มีน้อยมากก็ตามชาติวาสนา ถึงร่างกายบุญกรรมก็ทำมา มิใช่ว่าสรรสร้างได้อย่างใจ ถึงพ่อแม่เราไซร้จะให้ทรัพย์ ก็สำหรับชาดเหลือช่วยเกื้อหนุน ย่อมจะเป็นแต่ละเมื่อที่เจือจุน ไม่เหมือนทุนทางวิชาจะหากิน ด้วยความรู้นั้นเลิศประเสริฐสุด เปรียบประดุจดังแควกระแสสินธุ์ จะวิดวักตักมาเป็นอาจินต์ ไม่รู้สิ้นแห้งขอดตลอดกาล เท่ากับทรัพย์ติดตัวชั้วชีวาตม์ ใครไม่อาจลอบลักมาหักหาญ มีวิชาห้าข้อพอประมาณ ที่นงคราญไทยเราควรเล่าเรียน ข้อที่หนึ่งชี้อ้างทางหนังสือ ต้องหัดปรือให้ชำนาญทั้งอ่านเขียน เป็นเบื้องต้นของวิชาอันภเกียรณ์ จงพากเพียรพยายามตามปัญญา แม้ยังไม่เติมโตเป็นโอกาส จะสามารถเรียนได้หลายภาษา อย่าย่นย่อท้อถอยปล่อยเวลา หาวิชาเสียก่อนอย่านอนใจ มิเสียแรงเรียนรู้ถึงผู้หญิง ถ้าดีจริงอย่าพะวงคิดสงสัย รัฐก็นิยมให้ถมไป เมื่อทำได้รอบรู้เหมือนผู้ชาย เช่นตัวอย่างยังมีที่สถาน สำนักงานโทรศัพท์คอยรับสาย ใช้สตรีทำแทนแสนสบาย ไม่เสียหายการกิจสนิทดี อย่าทำถ่อมยอมแพ้แก่บุรุษ เรามนุษย์นี้หนามารศรี ถึงกำเนิดเกิดมาเป็นนารี วีชามีในตัวอย่ากลัวคน ข้อที่สองนั้นทางช่างประดิษฐ์ หัตถกิจเย็บปักเป็นมรรคผล สรรพสิ่งขึ้นชื่อฝีมือตน ตลอดจนหักฝ้ายทำด้วยปอ ควรจะเพียรเรียนรู้อย่าอยู่เปล่า เป็นงานเบากิจหญิงจริงจริงหนอ ยามธุระจะใช้ทำได้พอ ไม่ต้องง้อจ้างวานชาวบ้านทำ ด้วยความรู้รู้ไว้มิใช่ว่า เอาใส่บ่าแบกหามเลยงามขำ ถึงจะมีเงินทองไม่ต้องคลำ ไว้แนนนำวิชาเป็นอาจารย์ ก็มีคุณจุนเจือเหมือนเกื้อชาติ ให้สามารถรู้กิจโดยพิสดาร เพื่อวิชาสารพัดหัตถการ แผ่ไพศาลฟุ้งเฟื่องในเมืองไทย ข้อที่สามวิทยาทางค้าขาย ต้องขวนขวายฝึกหัดดัดนิสัย ให้รู้จักชักทุนหนุนกำใร และสิ่งได้ผลดีมีราคา ที่ซื้อง่ายขายคล่องไม่ต้องค้าง เนื่องในทางพานิชจะคิดหา จงพากเพรียนเรียนจำเป็นตำรา ซึ่งวิชาอย่างนี้ดีเหมื่อนกัน เพราะหาทรัพย์นั้นไซร้ไม่จำกัด เราถนัดทางใหนต้องใฝ่ฝัน เมื่อได้โดยสุจริตไม่ผิดธรรม์ ย่อมเป็นอันต้องตามความนิยม การจำหน่ายขายค้าใช่ว่าเล่น รวยจนเป็นเศรษฐีก็มีถม ถ้าถูกช่องไม่ช้าอย่าปรารมภ์ อาจอุดมเร็วพลันไม่ทันนาน ข้อที่สี่นี้ไซร้ให้รู้จัก ทางพิทักษ์ไข้ป่วยช่วยสังขาร ต้องฝึกหัดซึ่งวิชาพยาบาล ให้ชำนาญรู้ไว้ในวิธี อีกทั้งกิจต่างต่างทางรักษา เป็นวิชาล้ำเลิศประเสริฐศรี เพราะโรคาอาพาธอาจจะมี รู้ไว้ดีติดขัดบำบัดตน ยังประโยชน์ยิ่งแท้แก่ประเทศ เมื่อมีเหตุยุทธนาโกลาหล ฝ่ายบุรุษนั้นเขาเข้าประจัญ เราเป็นคนพยาบาลทหารไป เกิดเป็นตัวชั่วดีต้องมีจิต กระหน่ำกิจช่วยชาติอย่าหวาดไหว เพื่อดำรงอิสระคณะไทย ของเราไว้ให้เจริญดำเนินทัน ข้อที่ห้าหน้าที่สตรีแท้ ทั้งควรแก่กิจหญิงทุกสิ่งสรรพ์ คือวิชาแพทย์บำรุงผดุงครรภ์ หญิงเหมือนกันสิ่งใดไม่ระคาง ถึงโดยที่ลี้ลับจะจับต้อง ก็แคล่วคล่องทำถนัดไม่ขัดขวาง ความละอายฝ่ายเขาก็เบาบาง เพราะแก่ทางวิทยาของนารี แพทย์ผู้ชายอย่างไรไม่สนิท ย่อมจะคิดอึดอัดน่าบัดสี เพราะฉะนั้นควรหัดแพทย์สรี แต่ต้องมีเมตตากรุณาชน สำหรับใครไร้ทรัพย์ที่คับเข็ญ ก็จำเป็นช่วยเหลือเพื่อกุศล ถ้าผู้ดีมีทรัพย์ไม่อับจน จะหวังผลบ้างก็พอประมาณ ทุกข์ของหญิงยิ่งยอดการคลอดบุตร อกมนุษย์เหมือนกันสันนิษฐาน ต้องเผื่อแผ่วิทยาเป็นสาธารณ์ อย่าต้องการลาภผลทุกคนไป...”

[แก้ไข] ความสำคัญของคำพูด
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา เเม้นพูดดีมีคนเขาเมตตาจะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ (คล้ายกับ ปลาหมอตายเพราะปากเลยว่าไหมค่ะ ) ความประหยัดมัธยัสถ์เเละความกตัญญู


มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท

อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์

จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง

อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน

ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน

เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล

จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดระทดใจ ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ ได้การุญเลี้ยงรักษามาจนใหญ่ อุ้มอุทรป้อนข้าวเป็นเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง ความสำคัญของความสาว เป็นสตรีสุดดีเเต่เพียงผัว จะดีชั่วก็เเต่ยังกำลังสาว ลงจนสองสามจืดไม่ยืดยาว จะกลับหลังอย่างสาวสิเต็มตรอง

[แก้ไข] ความสำคํญของความรู้
รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย มีข้าไทใช้สอยค่อยสบาย ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง

****************************************
อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน สุริย์ฉายบ่ายคล้อยเที่ยวลอยนวล เป็นเชิงชวนพวกเจ้าชู้เขารู้กล พอรุ่งเช้าเฝ้าแต่มองส่องเกศี ให้เวียนหวีได้วันละพันหน ตรงการงานขี้คร้านเป็นกังวล แต่งแต่ตนมิได้เว้นสักเวลา ครั้นได้ยินเสียงกลองมาก้องหู ยังไม่รู้เนื้อความเที่ยวถามหา วันนี้มีละครใครที่ไหนมา แม้นรู้ว่าเจ้ากรับเต้นหรับไป นั่งพินิจพิศโฉมประโลมหลง ดูจนปลงกรรมฐานเหงื่อกาฬไหล บ้างก็เห็นว่างามเลยตามไป ช่างกระไรหนอขนิษฐ์ไม่คิดอาย บ้างก็รักข้างนักเลงเล่นเครงครื้น เที่ยวกลางคืนคบเพื่อนเดือนหงายหงาย ห่มเพลาะดำทำปลอมออกกรอมกาย พวกผู้ชายชักพาเที่ยวร่าเริง ครั้นไปไปใจแตกลงแหกคอก ปะแตกปลอกต้ำผางวางจนเหลิง ควาญหมอรอไม่ติดเห็นผิดเชิง จะเปิดเปิงเข้าป่าไปท่าเดียว ใครจะห้ามปรามไว้ก็ไม่ฟัง ทำส่งเสียงเถียงดังให้กราดเกรี้ยว ถือว่าตนเปรื่องฉลาดปราชญ์ประเปรียว ประจบเที่ยวรู้จักทุกพักตรา พูดก็มากปากก็บอนแสนงอนนัก เห็นเขารักกันไม่ได้ใจอิจฉา เที่ยวรอนราญจนเพื่อนบ้านเขาระอา นั่งที่ไหนให้นินทาเขาเป็นแดน ที่ส่วนตัวถึงจะชั่วออกล้นพ้น สู้ปิดปากยกตนนี่สุดแสน ไม่ทำมาหากินจนสิ้นแกน ก็เลยแล่นเข้าบ่อนนอนสบาย หญิงเช่นนี้เห็นไม่มีเจริญแล้ว ให้แว่วแว่วอยู่ข้างทางฉิบหาย ลงสูบฝิ่นกินเหล้าอยู่เมามาย ไม่เสียดายอินทรีย์เท่าขี้เล็บ มือก็ไวใจก็กล้าหน้าก็ด้าน จะเอาขวานไปถากไม่อยากเจ็บ แต่ผ้าขาดก็ไม่ปรารถนาเย็บ ขี้เกียจเก็บพลัดวางได้กลางเรือน อันการเหย้าไม่เอาเป็นธุระ คิดแต่จะเที่ยวตลบไปคบเพื่อน คบกันได้แต่นิสัยพวกแชเชือน จะคบคนพลเรือนก็เต็มที ชั้นจะยืมของใครเขาไม่เชื่อ ด้วยตัวเหลือโป้ปดสบถถี่ ปากก็หวานเหมือนน้ำตาลเพชรบุรี ข้าวของมีให้ไปไม่ได้คืน แม้นใครไปสมทบเข้าคบค้า จนชั้นผ้าไม่ติดตัวแต่สักผืน มีแต่ภัยให้ระยำทุกค่ำคืน ใครจะชื่นชมชิดไปคิดคบ หญิงไม่ดีนั้นก็มีอยู่หลายพวก จำจะบวกบอกใส่เสียให้จบ ที่คนดีจะได้ดูให้รู้ครบ หล่อนจะได้ไม่คบพวกคนพาล

พระพุทธโสธร


พระพุทธโสธร



พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดโสธรวราราม ราชวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปพอกปูน ลงรักปิดทอง ปางสมาธิแบบล้านช้าง หน้าตักกว้างประมาณสามศอกครึ่ง
ตามประวัติกล่าวว่า มีพระพุทธรูปสามองค์ ลอยน้ำมาจากทิศเหนือ แล้วมาผุดขึ้นที่แม่น้ำปางปะกง ในลักษณะที่ลอยทวนน้ำ ชาวบ้านเห็นเข้าจึงเอาเชือกไปคล้ององค์แล้วช่วยกันดึงเข้าฝั่ง แต่ไม่สำเร็จเชือกขาด และพระพุทธรูปได้จมน้ำไป ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนั้นว่า สามพระทวน พระพุทธรูปทั้งสามองค์หลังจากจมลงไปในน้ำแล้ว ก็ได้ไปผุดขึ้นในที่หลายแห่ง แต่ละแห่งชาวบ้านได้พยายามฉุดดึงเข้าฝั่งแต่ไม่สำเร็จ บริเวณที่พบพระพุทธรูปดังกล่าวจึงได้ชื่อต่าง ๆ กันไป ได้แก่ บางพระ แหลมหัววน และคลองสองพี่น้อง เป็นต้น สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ได้ลอยไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านเป็นจำนวน มากช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จ ตำบลนั้นจึงได้ชื่อว่าสามแสน ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็นสามเสนในที่สุดได้มีอาราธนา พระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้นไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ชื่อว่าหลวงพ่อบ้านแหลม องค์ที่สาม ชาวบางพลีได้อาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนองค์กลางได้ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ไปจนถึงวัดหงษ์ ชาวบ้านได้อาราธนาขึ้นไปประดิษฐานในอุโบสถวัดหงษ์ และเปลี่ยนมาเป็นวัดโสธร เล่ากันว่า ที่วัดนี้เดิมมีเสาใหญ่มีรูปหงษ์อยู่บนยอดเสา จึงได้ชื่อว่าวัดหงษ์ ต่อมาหงษ์ที่ยอดเสาหักตกลงมา ทางวัดจึงเอาธงไปติดไว้ที่ยอดเสาแทนรูปหงษ์ จึงได้ชื่อว่าวัดเสาธง ต่อมาเกิดมีพายุพัดเสานี้หักลงส่วนหนึ่ง จึงได้ชื่อว่าวัดเสาทอน และต่อมาชื่อนี้ได้กลายไปเป็น วัดโสธร
งานเทศกาลประจำปีของหลวงพ่อโสธร มีปีละ 2 ครั้ง คือในกลางเดือนห้า ซึ่งเป็นวันที่อาราธนาหลวงพ่อโสธรขึ้นจาก แม่น้ำมาประดิษฐานในพระอุโบสถของวัดโสธรจะมีงานฉลอง 3 วัน 3 คืน และในเทศกาลตรุษจีน จะมีงานฉลอง 5 วัน 5 คืน การแก้บนหลวงพ่อโสธรที่นิยมทำกันคือ แก้บนด้วยละครชาตรี


หลวงพ่อเพชร



หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนรุ่นแรก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารของวัดท่าถนน ตลาดบางโพ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดท่าถนนเดิมชื่อวัดวังเตาหม้อ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหนองไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดินจอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้
ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหนอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพชร
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร
กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะบูชาได้สะดวก
พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก ที่เรียกกันว่าพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย ชายสังฆาฎิสั้น ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 41 นิ้ว มีพุทธลักษณะงามมาก ชาวอุตรดิตถ์ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี


หลวงพ่อบ้านแหลม



เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร สูงประมาณ 2 เมตร 80 เซนติเมตร หล่อด้วยทองเหลืองปิดทอง ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่เรียกว่าวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของชาวเมืองแม่กลอง หรือจังหวัดสมุทรสงคราม
ตามตำนานเล่ากัน มีความสัมพันธ์กับตำนานพระพุทธรูปโสธร แต่มีเพิ่มเติมจำนวนพระพุทธรูปจาก 3 องค์ เป็น 5 องค์ กล่าวคือ มีเรื่องเล่ากันมาว่า มีพระพุทธรูป 5 องค์ ลอยน้ำมาจากเมืองเหนือ เมื่อมาถึงภาคกลางก็ได้แยกย้านกันไป ประดิษฐานอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 5 จังหวัด
องค์แรกได้ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง และได้ประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดโสธร ได้ชื่อว่า หลวงพ่อโสธร
องค์ที่สอง ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี และได้ไปประดิษฐานที่วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี ที่เป็นอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน ได้ชื่อว่าหลวงพ่อวัดไร่ขิง
องค์ที่สาม ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ไปประดิษฐานที่วัดบางพลี ณ ปากคลองบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ชื่อว่าหลวงพ่อบางพลี
องค์ที่สี่ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง และได้ไปประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ชื่อว่าหลวงพ่อบ้านแหลม
องค์ที่ห้า ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี และได้ไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี ได้ชื่อว่าหลวงพ่อเขาตะเครา
สำหรับหลวงพ่อบ้านแหลม มีตำนานอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวว่า ชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากอยู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2307 ส่วนใหญ่เป็นชาวประมง ซึ่งไปลากอวนหาปลาที่ปากน้ำแม่กลอง อวนได้ติดพระพุทธรูปขึ้นมาสององค์องค์หนึ่งเป็น พระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง จึงอาราธนาพระพุทธรูปยืนมาประดิษฐานที่ศรีจำปา ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองแม่กลอง ส่วนพระพุทธรูปนั่ง ได้มอบให้ญาติพี่น้องนำไปประดิษฐานที่วัดตะเครา เมืองเพชร
วัดศรีจำปานี้ต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม แลต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชั้นวรวิหาร และได้รับพระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทวรวิหาร
บาตรแก้วสีน้ำเงินที่เห็นอยู่ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าบรมเธอกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้ถวายไว้เนื่องจาก บาตรเดิมอาจจมหายอยู่ในน้ำ ก่อนที่ชาวประมงจะได้จากทะเลปากอ่าวแม่กลอง


หลวงพ่อโตวัดอินทร์



เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร ก่อด้วยอิฐหรือปูน ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก อยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม อำเภอพระนคร กรุงเทพ ฯ
ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2471
ปัจจุบันมีงานฉลองเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี

พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (แก้วมรกต)


พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (แก้วมรกต)



ตามประวัติกล่าวว่า พระแก้วมรกตพระองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ แห่งเมืองปาตลีบุตร ในอินเดีย พระนาคเสน ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมนาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระแก้วมรกต ๗ พระองค์ คือ ในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง พระชานุทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาพระแก้วมรกตได้ตกไปอยู่ที่เมืองลังกา เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร และเมืองเชียงราย ตามลำดับ เจ้าเมืองเชียงรายได้เอาปูนทาแล้วลงรักปิดทอง นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เพื่อซ่อนเร้นจากศัตรู
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๙ เกิดฟ้าผ่าที่องค์เจดีย์ ชาวเมืองได้เห็นพระพุทธรูปปิดทองปรากฎอยู่ คิดว่าเป็นพระพุทธรูปศิลาทั่วไป จึงได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาปูนที่ลงรักปิดทอง
ได้กะเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เห็นเป็นเนื้อแก้วสีเขียว จึงได้แกะปูนออกทั้งองค์ จึงพบว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ ผู้คนจึงพากันไปนมัสการ พระเจ้าสามฝั่งแกน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงจัดกระบวนไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาเชียงใหม่ แต่ช้างที่ใช้อัญเชิญได้หันเหไปทางลำปางถึงสามครั้ง จึงต้องยอมให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่ นครลำปางถึง ๓๒ ปี ที่วัดพระแก้ว ยังปรากฎอยู่ถึงปัจจุบันนี้
เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชครองเมืองเชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต
มาประดิษฐานที่เมืองเชียงใหม่ เป็นเวลา ๘๔ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๔ พระเจ้าไชยเชษฐา โอรสพระเจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้ครองเมืองเชียงใหม่ต่อจากพระอัยกา ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารทิวงคต ทางกรุงศรีสัตนาคนหุต จึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐา กลับไปเมืองหลวงพระบาง จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๕ และได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
๑๒ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๗ ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย พระแก้วมรกต ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์อีก ๒๑๔ ปี
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะที่ทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ยกกองทัพ ไปตีได้เมืองเวียงจันทน์ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมกับพระบาง มายังกรุงธนบุรี ได้ประดิษฐานไว้ ณ โรงพระแก้วในบริเวณพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้ครองราชย์ที่กรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ทรงโปรดให้ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร


วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก

[แก้ไข] ประวัติ
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"

ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี




[แก้ไข] สถานที่สําคัญภายในวัด
[แก้ไข] พระวิหารหลวง
พระวิหารหลวงเป็นอาคารเครื่องก่อขนาด 5 ห้อง กว้าง 23.84 เมตร ยาว 26.25 เมตร โครงสร้างหลังคาเป็นจั่วมีหลังคาประธาน 1 ตับ มีชั้นซ้อน(หลังคามุข) ทางด้านหน้าและด้านหลังข้างละ 1 ชั้น และมีหลังคาปีกนกลาดลงจากหลังคาประธานข้างละ 3 ตับ หลังคามุขทางด้านหน้าและด้านหลังมีหลังคาปีกนกลาดลงข้างละ 2 ตับ มีเสารับมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 12 ต้น ทั้งสองด้านรวม 24 ต้น และเสานาง เรียงด้านข้าง ด้านละ 6ต้น รวมทั้งหมดจึงเป็นเสา 36 ต้น เสานางเรียงและเสารับมุขหัวเสาเป็นปูนปั้น

[แก้ไข] ศาลาลอย
ศาลาลอยมีฐานหรือยกพื้นสูงอยู่ระดับเดียวกับกำแพง เรียงกันอยู่ตามแนวกำแพงด้านหน้า หรือด้านทิศเหนือทั้งหมด 4 หลัง รูปแบบทรงไทยผสมจีนและยุโรป หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นศาลาหลังริมที่อยู่ด้านตะวันออก เป็นศาลาเปลื้องเครื่องของพระมหากษัตริย์ ก่อนที่จะเสด็จเข้าสู่พระวิหาร ศาลาหลังที่ 2 ถัดจากศาลาเปลื้องเครื่องมีเกยสำหรับเทียบเสด็จเข้าด้านหน้า ซึ่งยังมีเกยสำหรับเทียบอยู่ สำหรับศาลาอีกสองหลังถัดไปนั้นคงเป็นสถานที่สำหรับประทับทอดพระเนตรพระราชพิธีโล้ชิงช้าของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยก่อน




[แก้ไข] ศาลาดิน
ศาลามีฐานหรือยกพื้นต่ำ เรียงตามแนวกำแพงวัดในเขตพุทธาวาส ด้านทิศตะวันออก ทั้งหมดมี 4 หลัง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไย หลังคาจั่วมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นลายดอกไม้และเถาแบบจีนศาลาทั้ง 4 หลังนี้เดิมใช้เป็นที่จัดเตรียมเครื่องไทยธรรม ก่อนที่จะนำเข้าพิธีในบริเวณพระวิหารหลวงหรือพระอุโบสถ




[แก้ไข] พระอุโบสถ
พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นอุโบสถที่มีขนาดใหญ่ยาวสวยงามที่สุดในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดฯเกล้าให้สร้างขึ้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2377 สำเร็จเรียบร้อยปี พ.ศ.2386 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบสถาปัตยกรรมไทย ขนาดกว้าง 22.60 เมตร ยาว 72.25 เมตร เป็นอาคารสูงใหญ่มากมีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับหลังคาทั้งหมด 68 ต้น หลังคา 4 ชั้น และชั้นลด 3 ชั้น มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียวเป็นพื้น คั่นกรอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง หน้าบันมุขหน้าและหลังเป็นไม้แกะสลักลาย

ประดับกระจกสี ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระอาทิตย์ประทับนั่งในบุษบก บนราชรถเทียมราชสีห์ มีคติความเชื่อว่าพะรอาทิตย์เป็นผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางวันพระวรกายเป็สีแดง สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลม พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวบานหมายถึงการห้ามอุปัทวันตรายทั้งปวง ส่วนพระหัตถ์ขวาถือดอกบัวตูม หมายถึงการอำนวยพร ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกสลักเป็นรูปพระจันทร์ประทับนั่งในบุษบกบนราชรถเทียมม้า มีคติความเชื่อว่า พระจันทร์เป็นเทพเจ้าผู้ให้แสงสว่างแก่โลกในเวลากลางคืน พระวรกายสีขาว สวมเทริดทรงน้ำเต้ากลมพระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ การสลักหน้าบันเป็นรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ หมายถึงว่า พระอาทิตย์และพระจันทร์เวียนรอบเขาพระสุเมรุ คือพระวิหารหลวง




[แก้ไข] ศาลารายพระอุโบสถ
เป็นศาลาก่ออิฐถือปูนเตี้ยชั้นเดียวหลังคาจั่วทรงไทยมุงกระเบื้อง หน้าบันปูนปั้นลายดอกและเถาแบบจีนซุ้มประตู แบบจตุรมุขกั้นแนวเขตระหว่างเขตพุทธาวาส กับเขตสังฆวาส







ชื่อสามัญ :วัดสุทัศนเทพวราราม
ความพิเศษ:พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย
ที่ตั้ง: แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เจ้าอาวาส พระวิสุทธาธิบดี ( วีระ ภทฺทจารี ปธ. ๙ )

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

108 วิธี ประหยัดพลังงาน


ประหยัดน้ำมันโดย

1. ตรวจสอบลมยางเป็นประจำ
2. สับเปลี่ยนยางตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด
3. ดับเครื่องทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนานๆ
4. ใช้เกียร์ให้เหมาะสมกับสภาพเส้นทาง
5. ไม่ออกรถกระชากจนดังเอี๊ยด
6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง (เบิ้ลเครื่อง)
7. ตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ
8. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง ขับช้าๆ เครื่องจะอุ่นเองที่ 1-2 กิโลเมตรแรก
9. ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด
10. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน (Car Pool)
11. ใช้โทรศัพท์แทนการเดินทาง
12. เดินทางใกล้ๆ ใช้จักรยาน
13. โทรนัดล่วงหน้าก่อนเดินทาง
14. ศึกษาแผนที่ในการเดินทางให้ดี
15. ใช้โทรสารไปรษณีย์ หรืออินเตอร์เน็ต แทนการส่งเอกสารด้วยตัวเอง
16. กำหนดเส้นทางและช่วงเวลาการเดินทางให้เหมาะสาม
17. หมั่นศึกษาทางลัด จะประหยัดทั้งเวลาและน้ำมัน
18. เป่าทำความสะอาดไส้กรองอากาศ และเปลี่ยนไส้กรองอากาศ และเปลี่ยนไส้กรอง อากาศตามความเหมาะสม
19. ไม่ควรลากเกียร์ต่ำนานๆ
20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์แต่งรถ ที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น
21. ใช้น้ำมันที่มีค่าออกเทน เหมาะกับชนิดของรถ
22. เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่อง ตามความเหมาะสม
23. งดใช้รถยนต์ส่วนตัว สัปดาห์ละ 1 วัน
24. ไม่ควรปรับเครื่องปรับอากาศให้เย็นเกินไป
25. จอดรถในที่ร่วม เพื่อลดอุณหภูมิในรถ
26. ไม่เลี้ยงคลัตช์ เร่งเครื่อง เพื่อไม่ให้รถไหลขณะอยู่บนทางลาด


ประหยัดไฟฟ้าโดย

27. ปิดสวิตช์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งาน
28. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5
29. ถ้าออกจากห้องเกิน 1 ชั่วโมง ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้ง
30. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ
31. ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพเมืองร้อน ช่วยประหยัดค่าไฟเครื่องปรับอากาศ
32. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส
33. ตรวจสอบอุดรอยรั่วในห้องและปิดประตูทุกครั้งก่อนใช้เครื่องปรับอากาศ
34. หลีกเลี่ยงการเก็บวัสดุที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศ
35. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนรอบผนังและบนเพดาน
36. ใช้มู่ลี่หรือกันสาด ป้องกันแสงแดดกระทบตัวอาคาร เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก
37. ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการปิดเปิดประตูในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
38. ปิดไฟทุกพักเที่ยง
39. ปลูกต้นไม้รอบๆอาคาร เพื่อเพิ่มความเย็นและบดบังแสงแดดให้แก่อาคาร
40. สร้างร่มไม้ใหญ่เพื่อลดอุณหภูมิให้อาคาร
41. ปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดความร้อนจากไอดิน
42. หลีกเลี่ยงการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่อมความร้อน เช่น เก้าอี้นวม หรือสักลาดในห้องปรับอากาศ
43. เลือกซื้อพัดที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง
44. ถ้าไม่จำเป็น ควรใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ
45. ใช้หลอดผอมจอมประหยัด
46. ใช้บัลสาสต์อิเล็กทรอนิกส์คู่กับหลอดผอมจอมประหยัด
47. ใช้โคมไฟที่มีแผ่นสะท้อนแสง เพื่อช่วยกระจายความสว่าง
48. ใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร เพื่อลดอุณหภูมิจากภายนอกอาคาร
49. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำสำหรับการเปิดไฟไว้ทั้งคืน
50. ติดตั้งไฟเฉพาะจุดแทนการเปิดไฟทั้งห้อง
51. ใช้สีอ่อนภายในอาคาร เพื่อทำให้ห้องสว่างขึ้น
52. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด
53. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างน้อย
54. ปิดตู้เย็นให้สนิททุกครั้งหลังปิด
55. ไม่ควรเปิดตู้เย็นบ่อย หรือนำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น
56. ตรวจสอบขอบยางประตูตู้เย็นไม่ให้เสื่อม
57. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะกับขนาดของครอบครัว
58. ละลายน้ำแข็งในตู้เย็นอย่างสม่ำเสมอ
59. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียวประหยัดกว่านะ
60. ตั้งสวิตช์อุณหภูมิในตู้เย็นให้เหมาะสม
61. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพระทำให้ต้องใช้ไฟในการรีดมากขึ้น
62. ดึงปลั๊กเตารีดออกก่อนรีดผ้าเสร็จเล็กน้อย ความร้อนที่เหลือยังใช้รีด ต่อได้อีก
63. เสียบปลั๊กแล้ว ควรรีดผ้าให้เสร็จในคราวเดียว
64. เลือกภาชนะให้เหมาะสมกับปริมาณอาหารที่ปรุง
65. ใส่ผ้าให้เต็มพิกัดเครื่องซักผ้าทุกครั้งที่ใช้
66. ตากเสื้อกับแสงแดด ประหยัดกว่ากรอบ (หอมกว่าด้วย)
67. ปิดโทรทัศน์ทุกครั้ง ทันทีที่ไม่มีคนดู
68. ไม่ปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป
69. ดูโทรทัศน์ร่วมกันเครื่องเดียวทั้งบ้าน
70. เช็ดผมให้หมาดก่อนใช้เป่าผม
71. ใช้เตาแก๊สหุงต้ม ประหยัดกว่าเตาไฟฟ้า
72. ดึงปลั๊กกาต้มน้ำไฟฟ้าออกทันทีเมื่อน้ำเดือด
73. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ตลอดเวลา
74. แยกสวิตช์ไฟฟ้าออกจากกันทั้งบ้าน เพื่อสามารถเลือกเปิดปิดได้เฉพาะจุด
75. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ปล่อยความร้อน ในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ
76. หมั่นซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า
77. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ไว้ถ้าไม่ใช้งาน
78. ดูสัญลักษณ์ ENERGY STAR ก่อนซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าของสำนักงาน


ประหยัดน้ำโดย

79. หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ
80. ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ตอนโกนหนวดแปรงฟัน หรือถูสบู่
81. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะจะใช้น้ำน้อยกว่า
82. รองน้ำซักผ้าแค่พอดีใช้ อย่าเปิดทิ้งไว้ตลอดการซัก
83. ใช้บัวรดน้ำแทนสายยางฉีดน้ำ
84. ไม่ควรใช้สายยางล้างรถ และอย่าเปิดน้ำไหลตลอดเวลา
85. ล้างรถเท่าที่จำเป็น
86. หมั่นตรวจสอบท่าน้ำในบ้านว่ามีรอยรั่วหรือไม่
87. ล้างผักผลไม้ในอ่างหรือภาชนะ
88. ล้างจานในอ่างล้างจาน
89. หมั่นตรวจสอบจุดรั่วซึมของชักโครก
90. ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ
91. ติดอุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก
92. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดดจัด
93. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือโดยเปล่าประโยชน์
94. รินน้ำให้พอดีดื่ม
95. ติดตั้งถังเก็บน้ำไว้บนชั้นสูงสุดของอาคาร


ประหยัดพลังงานอื่นๆ โดย

96. ใช้กระดาษให้คุ้มทั้ง 2 หน้า
97. ส่งต่อเอกสารแทนการถ่าย สำเนาหลายๆชุด
98. ใช้กระดาษขนาดเล็กปะหน้า โทรสารแทนกระดาษเต็มแผ่น
99. ส่งผ่านข้อมูลข่าวสารทางคอมพิวเตอร์ ช่วยลดขั้นตอน ช่วยลดพลังงาน
100. งดการใช้จานกระดาษและแก้วกระดาษ ในงานสังสรรค์
101. แยกประเภทขยะ
102. ขึ้นลงชั้นเดียว ไม่ต้องใช้ลิฟท์
103. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องทิ้ง
104. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
105. ใช้สินค้าที่บรรจุภัณฑ์สามารถผ่านกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ได้
106. ทำความสะอาดรังผึ้งของเตาถ่านก่อนใช้ จะช่วยให้การเผาไหม้ดีขึ้น
107. ใช้ตะกร้าหรือถุงผ้าไปจ่ายตลาด
108. ปลูกฝังค่านิยมให้เด็กไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสูญเปล่า

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ



เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์




สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง พระองค์มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ และราชประเพณี



พระองค์เจ้าจิตรเจริญทรงผนวชเป็นพระภิกษุใน พ.ศ. ๒๔๒๗ ครั้นลาผนวชแล้ว ทรงรัชราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระสติปัญญารอบรู้ เป็นที่วางพระราชหฤทัยจนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ อยู่หลายหน่วยงานเพื่อวางรากฐานในการบริหารราชการให้มั่นคง ทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลัง และกระทรวงวัง



ใน พ.ศ. 2452 ทรงกราบบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากประชวร ด้วยโรคพระหทัยโต ทรงปลูกตำหนักอยู่ที่คลองเตย และเรียกตำหนักนี้ว่า บ้านปลายเนิน ครั้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงทรงพ้นจากตำแหน่ง
ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในบั้นปลายพระชนม์ทรงประทับที่บ้านปลายเนินจนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระชันษา ๘๓ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์ ทรงมีพระปรีชาสามารถในงานช่างหลายแขนง ได้ทรงงานออกแบบไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งงานภาพเขียนในวรรณคดี ภาพประดับผนัง พระราชลัญจกรและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตาลปัตร ตลอดจนสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอุโบสถวัดราชาธิวาส พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านงานช่างนี้เอง ทำให้ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม



นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารทางด้านดนตรี ทรงพระนิพนธ์เพลงเขมรไทรโยค เพลงตับนิทราชาคริต เพลงตับจูล่ง ฯลฯ ส่วนด้านวรรณกรรมทรงมีลายพระหัตถ์โต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและอักษรศาสตร์ ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม สาส์นสมเด็จ ความที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนงจึงมิได้เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยเท่านั้น หากแต่ทรงเป็นบุคคลที่ชาวโลกพึงรู้จัก โดยใน พ.ศ. ๒๕๐๖ อันเป็นวาระครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกพระองค์หนึ่ง



ขรัวอินโข่ง



ขรัวอินโข่ง เป็นชื่อเรียกพระอาจารย์อิน ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขรัวอินโข่งเป็นชาวบางจาน จังหวัดเพชรบุรี บวชอยู่จนตลอดชีวิตที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) กรุงเทพฯ การที่ท่านบวชมานานจึงเรียกว่า ขรัว ส่วนคำว่า โข่ง นั้นเกิดจากท่านบวชเป็นเณรอยู่นานจนใคร ๆ พากันเรียกว่า อินโข่ง ซึ่งคำว่า โข่ง หรือโค่ง หมายถึง ใหญ่หรือโตเกินวัยนั่นเอง

ขรัวอินโข่ง เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ในการเขียนภาพทั้งแบบไทยที่นิยมเขียนกันมาแต่โบราณ และทั้งแบบตะวันตกด้วย นับเป็นจิตรกรคนแรกของไทยที่มีพัฒนาการเขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังโดยการนำทฤษฎีการเขียนภาพแบบสามมิติแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในงานจิตรกรรมของไทยในยุคนั้น ภาพต่าง ๆ ที่ขรัวอินโข่งเขียนจึงมีแสง เงา มีความลึกและเหมือนจริง



ภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดย ขรัวอินโข่ง



ผลงานของขรัวอินโข่งเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก เคยโปรดเกล้าฯ ให้เขียนรูป

ต่างๆ ตามแนวตะวันตกไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นภาพเขียนแรก ๆ ของขรัวอินโข่ง นอกจากนั้นมีภาพเหมือนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่หอพระราชกรมานุสรณ์



ภาพของขรัวอินโข่งเท่าที่มีปรากฏหลักฐานและมีการกล่าวอ้างถึง อาทิ ภาพเขียนชาดก เรื่องพระยาช้างเผือก ที่ผนังพระอุโบสถ และภาพสุภาษิตที่บานแผละ หน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในหอพระราชพงศานุสรณ์ในพระบรมมหาราชวัง ภาพปริศนาธรรมที่ผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส ภาพพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ฯลฯ





การเขียนภาพแบบตะวันตก



ที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ



ภาพเขียนจากฝีมือขรัวอินโข่งเหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่น แปลกตา ใช้สีเข้มและสีอ่อน แตกต่างจากงานจิตรกรรมที่เคยเขียนกันมาในยุคนั้น ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของงานจิตรกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกกันว่า จิตรกรรมสกุลช่างขรัวอินโข่ง ที่เป็นต้นกำเนิดของงานจิตรกรรมไทยในยุคต่อ ๆ มา






พระประดิษฐ์ไพเราะ
(มี ดุริยางกูร)


พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงสืบประวัติไว้ว่า ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น คือเป็นเชื้อแขก ชื่อมี ครูมีแขกเป็นผู้เชี่ยวชาญคนตรีไทยเกือบทุกประเภท ทั้งยังแต่งเพลงด้วย เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ทยอยนอก ทยอยใน 3 ชั้น
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ขึ้นเล่นประชันวงกัน ครูมี ได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก

ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย
ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๑ ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย








ดร.แดน บีช แบรดเลย์
(Dr.Dan Beach Bradley)


ดร.แดน บีช แบรดเลย์ ชาวไทยเรียกกันว่า หมอบรัดเลย์ หรือ ปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘ โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทย ส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ


ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์ โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก และพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม เป็นฉบับแรก จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒ อีกด้วย กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ นอกจากนี้ท่านได้ออกหนังสือพิมพ์รายปีฉบับหนึ่ง ชื่อว่า บางกอกคาเลนเดอร์ (Bangkok Calender) ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ชื่อว่า บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) นอกจากหนังสือพิมพ์แล้วยังได้พิมพ์หนังสือเล่มจำหน่ายอีกด้วย เช่น ไคเภ็ก ไซ่ฮั่น สามก๊ก เลียดก๊ก ห้องสิน ฯลฯ หนังสือของหมอบรัดเลย์นั้น เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ขุนนางและราชสำนัก โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง


นอกจากงานด้านโรงพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์เข้ามาบุกเบิกและพัฒนาให้วงการสิ่งพิมพ์ไทยแล้ว งานด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขที่ท่านทำไว้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หมอบรัดเลย์นับว่าเป็นหมอฝรั่งคนแรกที่ได้นำเอาหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย มีการผ่าตัดและช่วยรักษาโรคต่างๆ โดยใช้ยาแผนใหม่ ซึ่งช่วยให้คนไข้หายป่วยอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ



ด้วยคุณงามความดีที่หมอบรัดเลย์มีต่อแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกมิชชันนารีและหมอบรัดเลย์เช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์อยู่จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าจนกระทั่งหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ รวมอายุได้ ๗๑ ปี

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ



กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ





สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม
เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และวิชาเลข ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ทรงกรม เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการเจรจากับกงสุลต่างประเทศ และทรงดำริที่จะทำสัญญากับอังกฤษจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นการ

เริ่มนำคนในบังคับต่างประเทศมาไว้ในอำนาจศาลไทย



ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ ตำแหน่งเสนาบดีกรมท่าว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีกรม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่เป็นกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ทรงพยายามที่จะหาทางรักษาไมตรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ให้ดำเนินไปด้วยดี กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ มีการปะทะกันระหว่างเรือของฝรั่งเศสกับไทย พระองค์ทรงช่วยผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาเอกราชของไทยไว้ได้ นสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบมา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงเป็นมหาอำมาตย์ยศเทียบเท่ากับจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๕ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล เทวกุล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ



สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ มีความรอบรู้ มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์


ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน


การศึกษา


ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ จึงปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน เป็นต้น


การปกครอง


ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘ ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่ โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า ระบบกินเมือง ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร เช่น กรมตำรวจ กรมป่าไม้ กรมพยาบาล เป็นต้น ตลอดเวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย


งานพระนิพนธ์


ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้ ได้แก่ หอสมุดสำหรับพระนคร และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล ใน พ.ศ. ๒๕๐๕ ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้

สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์


สมเด็จเจ้าพระยา

บรมมหาศรีสุริยวงศ์



สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๕๑ ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ รับราชการมีความชอบมาก ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ ใน พ.ศ. ๒๓๘๔ และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์ ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑ อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕ เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕ รวมอายุได้ ๗๔ ปี

สุนทรภู่


ประวัติสุนทรภู่ วัยเด็ก

วัยเด็ก (พ.ศ.๒๓๒๙ - ๒๓๔๙): อายุแรกเกิด - ๒๐ ปี

สุนทรภู่ เป็นบุตร ขุนศรีสังหาร (พลับ) นายทหารประจำป้อมปืนพระราชวังบวรสถานพิมุข (พระราชวังหลัง หรือวังหลัง) และแม่ช้อย แม่นมของพระองค์เจ้าจงกล หรือ เจ้าครอกทองอยู่ พระธิดาในกรมพระราชวังหลัง เกิดในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า (๘.๐๐ น.) ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย

สุนทรภู่เกิดได้ไม่นานบิดามารดาก็หย่าจากกัน ฝ่ายบิดากลับไปบวชที่บ้านกร่ำเมืองแกลง (อ.แกลง จ.ระยองปัจจุบันนี้) ส่วนมารดาคงเป็นนางนมของพระองค์เจ้าจงกล ต่อไป และได้แต่งงานมีสามีใหม่ โดยมีบุตรกับสามีใหม่ ๒ คนเป็นหญิง ชื่อฉิมและนิ่ม ส่วนตัวสุนทรภู่เองก็ได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่เล็กแต่น้อย เมื่ออายุสมควรที่จะเรียนหนังสือแล้วก็ได้ไปเรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน หลังจากได้ร่ำเรียนจบแล้ว สุนทรภู่ก็ไปทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือในวัดชีปะขาว จนกระทั่งอายุได้ ๑๘ ปี จึงได้ไปรับราชการเป็นเสมียน

อย่างไรก็ดี เนื่องจากสุนทรภู่มีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน รักในการแต่งกลอน แต่งบทสักวามากกว่าอย่างอื่น จึงทำให้สุนทรภู่ลาออกจากราชการ และกลับไปอาศัยในพระราชวังหลังตามเดิม พร้อมทั้งนำตนเองเข้าสู่โลกวรรณกรรม ทว่าสุนทรภู่ได้เกิดไปรักใคร่กับแม่จัน นางข้าหลวงในพระราชวังหลัง ครั้นความทราบถึงกรมพระราชวังหลัง พระองค์ก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้นำสุนทรภู่ และแม่จันไปจองจำทันที แต่ทั้งสองถูกจองจำได้ไม่นาน เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ ทั้งสองก็พ้นโทษออกมา เพราะเป็นประเพณีแต่โบราณที่จะมีการปล่อยนักโทษเพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ หรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เมื่อเสด็จสวรรคตหรือทิวงคตแล้ว

แม้จะพ้นโทษ สุนทรภู่ และแม่จันก็ยังมิอาจสมหวังในรักเพราะผู้ใหญ่ของฝ่ายแม่จันคอยกีดกัน ทำให้สุนทรภู่ตัดสินใจไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์พระโอรสองค์เล็กในกรมพระราชวังหลังซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดบางหว้าใหญ่ หรือวัดระฆังโฆสิตารามในปัจจุบันนั่นเอง

ต่อมาพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ทรงมีรับสั่ง ใช้สุนทรภู่ให้ไปยังเมืองบางปลาสร้อย (จังหวัดชลบุรี ในปัจจุบัน) และเป็นการใช้งานอย่างกระทันหัน ชนิดที่สุนทรภู่ไม่ทันได้เตรียมตัวเลย สุนทรภู่ได้เดินทางไปยังเมืองบางปลาสร้อยตามรับสั่ง นอกจากนี้ยังได้ถือโอกาสไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ เมืองแกลงด้วย เพราะนับตั้งแต่จำความได้ สุนทรภู่ไม่เคยได้เห็นหน้าพ่อเลย เห็นแต่หน้าพ่อเลี้ยง (สามีใหม่ของแม่ช้อย) ซึ่งไม่ค่อยจะลงรอยสักเท่าใดนัก

สุนทรภู่ออกเดินทางโดยนั่งเรือประทุนไปยังเมืองแกลง โดยออกจากกรุงเทพเมื่อเดือน ๓ (เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๔๙) เวลาประมาณเที่ยงคืน ณ ท่าน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม โดยมีผู้เดินทาง ๔ คน เป็นศิษย์รุ่นน้องและคนนำทาง สุนทรภู่เดินทางในครั้งนี้ใช้เวลานานถึง ๗ เดือน โดยที่สุนทรภู่เดินทางกลับกรุงเทพฯ เมื่อเดือน ๙ (เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๓๔๙) และด้วยเหตุนี้นี่เอง จึงทำให้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเรื่องแรกในชีวิตนั่นคือ นิราศเมืองแกลง โดยแต่งขึ้นในปีพ.ศ.๒๓๕๐ ขณะมีอายุเพียง ๒๑ ปีเท่านั้น อย่างไรก็ดี สุนทรภู่ก็เกิดอาการเจ็บป่วยเกือบถึงชีวิต จากการเดินทางครั้งนั้นด้วย


สุนทรภู่ กวีเอกของโลก


[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]


ประวัติสุนทรภู่ ก่อนรับราชการ

ก่อนรับราชการ (พ.ศ.๒๓๔๙ - ๒๓๕๙): อายุ ๒๑ - ๓๐ ปี

สุนทรภู่หลังจากกลับจากเมืองแกลงแล้ว สุนทรภู่ก็ได้ไปเป็นมหาดเล็กในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตารามเช่นเคย ในช่วงนี้สุนทรภู่ก็สมหวังในรักเมื่อพระองค์เจ้าจงกล หรือเจ้าครอกทองอยู่ได้ไปสู่ขอแม่จันมาเป็นภรรยา และสุนทรภู่ก็ได้แม่จันมาเป็นภรรยาสมใจ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อแต่งงานกันไปได้เพียง ๕ เดือน เนื่องด้วยสุนทรภู่เป็นคนเจ้าชู้ ติดเหล้า และมีเพื่อนฝูงมาก ทำให้เริ่มมีปากเสียงกับแม่จัน ยังไม่ทันได้คืนดีสุนทรภู่ก็ต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการพระพุทธบาทจ.สระบุรี ในวันมาฆบูชาเมื่อขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๓ ปีพ.ศ.๒๓๕๐ (วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๕๐) และนี่เองที่สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเรื่องที่ ๒ ของตนขึ้น คือ นิราศพระบาท สุนทรภู่ตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์กลับถึงกรุงเทพฯ ในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีพ.ศ.๒๓๕๐ (วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๕๐)

สุนทรภู่มีบุตรกับแม่จัน ๑ คนเป็นชายชื่อพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่น เพราะสุนทรภู่ยังคงประพฤติตนเป็นคนขี้เหล้า และเจ้าชู้ต่อไป ในที่สุดแม่จันก็ทนไม่ไหว ขอหย่าร้างสุนทรภู่ไป ส่วนพัดนั้น พระองค์เจ้าจงกล (เจ้าครอกทองอยู่) ได้รับอุปการะเลี้ยงดูหนูพัดนั้นไว้ แต่หลังการหย่าร้างแม่จันไม่นาน ก็ไปได้ภรรยาคนที่ ๒ ชื่อ แม่นิ่ม ชาวสวนบางกรวย และมีบุตรด้วยกัน ๑ คนเป็นชายชื่อตาบ แต่ว่าหลังจากแม่นิ่มคลอดหนูตาบแล้ว ก็เจ็บป่วยกระเสาะกระแสะตลอดมา และก็ตายไปเมื่อลูกยังอายุน้อยนี่เอง สุนทรภู่ก็กลายเป็นคนขี้เมาจนแทบจะเสียคน เพื่อจะให้ลืมความรักที่ขมขื่น และก็พาหนูตาบไปฝากไว้ให้เจ้าครอกทองอยู่เป็นผู้เลี้ยงไว้เช่นเคยในวังหลังคู่กับหนูพัด ส่วนสุนทรภู่ก็หนีไปเพื่อบารมีของหม่อมบุนนาค พระชายาในกรมพระราชวังหลังที่จังหวัด เพชรบุรี และทำไร่ทำนาอยู่กับหม่อมบุญนาค ดังความตอนหนึ่งในนิราศเมืองเพชร ที่ท่านย้อนรำลึกความหลังสมัยยังหนุ่มว่า

ถึงต้นตาลบ้านคุณหม่อมบุญนาค เมื่อยามยากจนมาได้อาสัย
มารดาเจ้าคราวพระวังหลังครรไล มาทำไร่ทำนาท่านการุญ

นักเลงกลอนอย่างท่านสุนทรภู่ ทำไร่ทำนาอยู่นานก็ชักเบื่อ หลังจากอยู่กับหม่อมบุนนาคมาได้ ๖ ปี สุนทรภู่ได้เดินทางกลับมากรุงเทพฯอีกครั้ง เมื่ออายุได้ ๒๗ ปี โดยมาอาศัยอยู่กับพระองค์เจ้าปฐมวงศ์อีกเช่นเคย แล้วหากินโดยการรับจ้างแต่งเพลงยาว บอกบทสักวา จนถึงบอกบทละครนอก และในช่วงนั้นเองสุนทรภู่ก็ได้แต่งนิทานเรื่องแรกของท่าน (สมัยนั้นเรียกกลอนนิทาน) ได้แก่เรื่อง โคบุตร ความยาว ๘ เล่มสมุดไทย เพื่อถวายแด่พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ การที่เกิดมีนิทานเรื่องใหม่ๆ ทำให้เป็นที่สนใจมาก เพราะสมัยนั้นมีแต่กลอนนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ไม่กี่เรื่อง ซ้ำไปซ้ำมาจนคนอ่านคนดูรู้เรื่องตลอดหมดแล้ว นิทานของท่านทำให้นายบุญยัง เจ้าของคณะละครนอกชื่อดังในสมัยนั้น มาติดต่อว่าจ้างสุนทรภู่ ท่านจึงได้ร่วมคณะละครของนายบุญยัง เป็นทั้งคนแต่งบท และบอกบทเดินทางเร่ร่อนไปกับคณะละครจนทั่ว ดังตอนหนึ่งใน นิราศสุพรรณคำโคลง ท่านรำลึกถึงครั้งเดินทางกับคณะละครว่า

บางระมาดมิ่งมิตรครั้ง คราวงาน
บอกบทบุญยังพยาน พยักหน้า
ประทุนประดิษฐาน แทนฮ่อง หอเอย
แหวนประดับกับผ้า พี่อ้างรางวัล

ต่อมาไม่นาน ในปีพ.ศ.๒๓๕๘ สุนทรภู่ได้เขียนนิทานเรื่องสำคัญที่สุด และมีชื่อเสียงมากที่สุดนั่นคือเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งมีความยาว ๙๔ เล่มสมุดไทย เพียงแต่ว่ายังคงแต่งเพียงช่วงต้นเรื่องเท่านั้น (ช่วงปลายเรื่องนั้น สุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ดูที่ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน) ซึ่งนิทานเรื่องนี้แปลกแหวกแนวยิ่งกว่านิทานจักรๆ วงศ์ๆ เรื่องใดที่เคยมีมา เป็นนิทานที่มีทุกรสชาติ ซึ่งจากนิทานเรื่องพระอภัยมณีนี้ ก็ทำให้คณะละครนายบุญยังโด่งดังเป็นพลุ และเป็นที่ต้องการของใครต่อใคร และแน่นอนชื่อเสียงของท่านสุนทรภู่ก็โด่งดังไปไม่แพ้กันทั่วทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองใกล้เคียง


สุนทรภู่ กวีเอกของโลก


[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]


ยุคทองของสุนทรภู่

ยุคทองสุนทรภู่ (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๖๗): อายุ ๓๑ - ๓๘ ปี

สุนทรภู่ ได้เข้าสู่ยุคซึ่งตนเองประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นมหากวี และทรงสนพระทัยเรื่องการละครเป็นอย่างยิ่ง ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการกวดขันฝึกหัดวิธีรำจนได้เป็นแบบอย่างของละครรำมาตราบจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่อีกถึง ๗ เรื่อง เช่นเรื่องอิเหนา และเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น

สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในกรมพระอาลักษณ์ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสนพระทัยในฝีมือของสุนทรภู่ และยังทรงพอพระทัยในไหวพริบปฏิภาณของสุนทรภู่ด้วย เรื่องราวของสุนทรภู่ที่ได้แสดงฝีมือเป็นที่พอพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเล่าว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ถึงตอนนางสีดาผูกคอตาย บทพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ ซึ่งเล่นละครกันมากล่าวบทนางสีดาตอนเมื่อจะผูกคอตายว่า

เอาภูษาผูกศอให้มั่น แล้วพันกับกิ่งโศกใหญ่
หลับเนตรจำนงปลงใจ อรไทก็โจนลงมา

ต่อไปก็เป็นบทของหนุมานที่ว่า

บัดนั้น วายุบุตรวุฒิไกรใจกล้า
ครั้นเห็นองค์อัครกัลยา ผูกศอโจนมาก็ตกใจ
ตัวสั่นเพียงสิ้นชีวิต ร้อนจิตดังหนึ่งเพลิงไหม้
โลดโผนโจนลงตรงไป ด้วยกำลังว่องไวทันที (เชิด)
ครั้นถึงจึงแก้ภูษาทรง ที่ผูกศอองค์พระลักษมี
หย่อนลงยังพื้นปัถพี ขุนกระบี่ก็โจนลงมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติว่าบทเก่าตรงนี้ กว่าหนุมานจะเข้าช่วยเหลือนางสีดาได้ นางสีดาก็คงตายไปแล้ว จึงทรงพระราชนิพนธ์ตอนนี้ใหม่ หวังจะให้หนุมานได้เข้าช่วยเหลือนางสีดาได้โดยเร็ว ทรงแต่งบทนางสีดาว่า

จึงเอาผ้าผูกผันกระสันรัด แล้วพันกับกิ่งโศกใหญ่
หลับเนตรจำนงปลงใจ อรไทก็โจนลงมา

แต่แล้วก็เกิดขัดข้องที่ว่า จะแต่งบทหนุมานอย่างไรให้แก้นางสีดาได้โดยเร็ว เหล่ากวีที่ปรึกษาของพระองค์ก็ไม่มีใครสามารถแต่งบทให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยได้พระองค์จึงโปรดให้สุนทรภู่ซึ่งหมอบเฝ้าอยู่ด้วยลองดู สุนทรภู่ได้แต่งว่า

ชายหนึ่งผูกศออรไท แล้วทอดองค์ลงไปจะให้ตาย
บัดนั้น วายุบุตรแก้ได้ดังใจหมาย

ปรากฏว่าเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงยกย่องว่าสุนทรภู่แต่งได้เก่ง อีกคราวหนึ่งเมื่อทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกสิบขุนสิบรถ ทรงพระราชนิพนธ์บทในช่วงชมรถของทศกัณฐ์ว่า

รถที่นั่ง บุษบกบัลลังก์ตั้งตระหง่าน
กว้างยาวใหญ่เท่าเขาจักรวาล ยอดเยี่ยมเทียมวิมานเมืองแมน
ดุมวงกงหันเป็นควันคว้าง เทียมสิงห์วิ่งวางข้างละแสน
สารถีขี่ขับเข้าดงแดน พื้นแผ่นดินกระเด็นไปเป็นจุณ

ทรงพระราชนิพนธ์มาได้เพียงเท่านี้ ทรงนึกความที่จะต่อไปอย่างไรให้สมกับที่รถใหญ่โตปานนั้นก็นึกไม่ออก จึงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ สุนทรภู่ก็ได้แต่งต่อว่า

นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น
เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือน
ทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน
บดบังสุริยันตะวันเดือน คลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา

กลอนบทนี้เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยิ่งนัก นับแต่นั้นพระองค์ก็ทรงนับสุนทรภู่เป็นกวีที่ปรึกษาด้วยอีกคนหนึ่ง ทรงตั้งให้สุนทรภู่เป็นที่ ขุนสุนทรโวหาร พระราชทานที่ให้ปลูกเรือนหลวงอาศัยที่ท่าช้าง และให้มีตำแหน่งเข้าเฝ้าฯ เป็นเนื่องนิจ แม้เวลาเสด็จประพาสก็โปรดฯ ให้สุนทรภู่ลงเรือพระที่นั่งไปด้วย เป็นพนักงานอ่านเขียนในเวลาทรงพระราชนิพนธ์บทกลอน

ระหว่างที่สุนทรภู่รับราชการ และพักอยู่ที่เรือนหลวงซึ่งได้รับพระราชทานมานั้น ก็ได้รับบุตรชายทั้ง ๒ คนคือ พัด และ ตาบ ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดากัน ที่เดิมเจ้าครอกทองอยู่ได้ทรงพระเมตตารับอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้ง ๒ ของสุนทรภู่เอาไว้ให้กลับมาอยู่ด้วยกันที่เรือนหลวงแห่งนี้ แต่ว่ารับราชการไปนานขึ้น เนื่องด้วยสุนทรภู่เป็นคนใจกว้าง และมีเพื่อนฝูงมาก ทำให้การเลี้ยงดูสนุกสนานกินเหล้าเมายาเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนญาติผู้ใหญ่ต้องเตือนสุนทรภู่ แต่สุนทรภู่ก็มิได้เชื่อฟัง กลับหาเรื่องชกต่อยญาติผู้ใหญ่ท่านดังกล่าว จนถูกทูลถวายฎีกากล่าวโทษ ครั้นความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงกริ้วสุนทรภู่ สั่งให้นำตัวสุนทรภู่ไปขังคุกไว้ ซึ่งถือเป็นการเข้าคุกครั้งที่ ๒ ของสุนทรภู่ (ครั้งแรกคือเมื่อติดคุกกับแม่จัน ภรรยาคนแรก) เมื่อราวปีพ.ศ.๒๓๖๗ และในช่วงที่ติดคุกนี้เอง สุนทรภู่ก็ได้แต่งนิทานคำกลอนออกมาขายโดยเป็นบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม ขนาด ๑ เล่มสมุดไทย

แต่แล้ว ก็ถึงคราวโชคดีของสุนทรภู่ เมื่อคราหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องหนึ่งเรื่องใดติดขัด แล้วไม่มีผู้ใดจะต่อกลอนให้พอพระราชหฤทัยได้ ทำให้พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ไปเบิกตัวสุนทรภู่จากคุกเพื่อให้มาช่วยต่อกลอน ซึ่งสุนทรภู่สามารถต่อกลอนให้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทำให้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษแด่สุนทรภู่ และให้เข้ากลับมารับราชการตามเดิม

หลังจากที่สุนทรภู่ได้รับพระราชทานอภัยโทษกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนสุนทรโวหาร กวีที่ปรึกษาตามเดิมแล้ว ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ไปเป็นพระอาจารย์สอนหนังสือให้แก่ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ซึ่งในขณะนั้นทรงมีพระชันษา ๕ ปี สุนทรภู่ได้ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์จนทรงอ่านออกเขียนได้แล้ว สุนทรภู่จึงได้แต่งสุภาษิตคำกลอนถวายเรื่องหนึ่งคือเรื่อง สวัสดิรักษา ความยาว ๑ เล่มสมุดไทย ในปีพ.ศ.๒๓๖๗


สุนทรภู่ กวีเอกของโลก



สุนทรภู่ยังอยู่ในวัยเด็ก และกำลังเล่าเรียนอยู่ที่สำนักวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดารามในปัจจุบัน)


[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]


สุนทรภู่ยุคออกบวช

ยุคออกบวช (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๘๕): อายุ ๓๘ - ๕๖ ปี

สุนทรภู่ เข้าสู่ยุคซึ่งถือว่าเป็นจุดพลิกผันทำให้ตนเองต้องตกระกำลำบากอย่างมาก ถึงขั้นต้องซัดเซพเนจรไปทั่ว โดยหลังจากที่สุนทรภู่รับราชการในกรมอาลักษณ์นานถึง ๓ ปี เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต นอกจากแผ่นดินและผืนฟ้าจะร่ำไห้ ไพร่ธรรมดาคนหนึ่งที่มีโอกาสสูงสุดในชีวิต ได้ถึงเป็นกวีที่ปรึกษาในราชสำนักก็พลอยหมดวาสนาไปด้วย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ถึงเหตุที่สุนทรภู่ไม่กล้ารับราชการต่อในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนี้

เล่ากันว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนา ทรงแบ่งตอนนางบุษบาเล่นธาร เมื่อท้าวดาหาไปใช้บนพระราชทานให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้นดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงแต่ง และเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงวันจะอ่านถวาย พระองค์ทรงมีรับสั่งวานสุนทรภู่ให้ช่วยตรวจดูเสียก่อน สุนทรภู่อ่านแล้วกราบทูลว่า เห็นดีอยู่แล้ว ครั้นถึงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จออก เมื่อโปรดให้อ่านต่อหน้ากวีที่ทรงปรึกษาพร้อมกัน ถึงบทแห่งหนึ่งที่ว่า "น้ำใสไหลเย็นแลเห็นตัวปลาแหวกกอบัวอยู่ไหวไหว" สุนทรภู่ติว่ายังไม่ดี และขอแก้เป็น "น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลาว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว" ทรงโปรดตามที่สุนทรภู่แก้ พอเสด็จขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงกริ้ว และดำรัสว่า เมื่อขอให้ตรวจ ทำไมจึงไม่แก้ไข แกล้งนิ่งเอาไปไว้ติหักหน้ากลางคัน เป็นเรื่องที่ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ครั้งหนึ่ง

อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งบทละครเรื่องสังข์ทอง ตอนท้าวสามลจะให้ลูกสาวเลือกคู่ ทรงแต่งคำปรารภของท้าวสามลว่า "จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วสมมาดปรารถนา" ครั้นถึงเวลาอ่านถวาย สุนทรภู่ถามขึ้นว่า "ลูกปรารถนาอะไร" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องแก้เป็นว่า "จำจะปลูกฝังเสียยังแล้ว ให้ลูกแก้วมีคู่เสน่หา" ทรงขัดเคืองสุนทรภู่ว่าแกล้งประมาทอีกครั้งหนึ่ง แต่นั้นก็ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมึนตึงต่อสุนทรภู่มาจนตลอดรัชกาลที่ ๒

จะว่าโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจเพียงคิดได้ด้วยเฉพาะหน้าตรงนั้นก็ตาม สุนทรภู่ก็ได้ทำการไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ประกอบกับความอาลัยเสียใจหนักหนาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่จึงลาออกจากราชการ ซึ่งในช่วงนั้นสุนทรภู่เริ่มกลับมาตกระกำลำบากเหมือนเมื่อช่วงก่อนที่จะเข้ารับราชการ ไม่มีบ้านที่จะอาศัยต้องอาศัยอยู่กับพัด และตาบ ผู้เป็นบุตรกันอยู่ ๓ คน พ่อลูก จะหันหน้าไปพึ่งมารดา (คือแม่ช้อย) ก็เข้ากับพ่อเลี้ยงไม่ได้ จะหันไปพึ่งพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ซึ่งทรงประทับ ณ วัดระฆัง ก็กระดากใจ เพราะพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว จะไปเป็นศิษย์วัดเหมือนสมัยยังหนุ่ม ก็ดูจะกระไรอยู่ นอกจากนี้ บรรดาเพื่อนฝูงหรือเจ้านายพระองค์ใดก็ไม่กล้ารับอุปการะช่วยเหลือสุนทรภู่ เพราะเกรงพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไม่โปรดสุนทรภู่ แม้แต่เจ้าฟ้าอาภรณ์ที่สุนทรภู่เป็นพระอาจารย์สอนหนังสือให้ ก็ยังทรงเมินเฉย ไม่ยอมรับอุปการะช่วยเหลือทำให้สุนทรภู่ตกระกำลำบาก จนกระทั่งสุดท้าย สุนทรภู่ตัดสินใจเข้าสู่ใต้ร่มกาสาวพักตร์ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้เผยความในใจนี้ ในตอนหนึ่งของนิราศภูเขาทองว่า

จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป

สุนทรภู่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปีวอก พ.ศ.๒๓๖๗ ขณะมีอายุได้ ๓๘ ปี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม โดยมีพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ทรงอุปถัมภ์การบวชครั้งนี้และเมื่อบวชแล้วก็ได้เริ่มจำพรรษาอยู่ที่วัดเลียบ หรือวัดราชบูรณะ ในปัจจุบันนั่นเอง

หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว หลังจากที่ได้จำพรรษาในวัดเลียบได้ประมาณปีหนึ่ง ก็ได้ออกจาริกแสวงบุญไปยังที่ต่าง เล่ากันว่า ท่านได้เดินทางไปยังหัวเมืองต่างๆ หลายแห่ง เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองประจวบคีรีขันธ์ จนถึงเมืองถลางหรือภูเก็ต และเชื่อกันว่า ท่านคงจะเขียนนิราศเมืองต่างๆนี้ไว้อย่างแน่นอน เพียงแต่ยังค้นหาต้นฉบับไม่พบ ราวปี พ.ศ.๒๓๗๐ ท่านก็กลับมาจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ หรือวัดเลียบ แต่หลังจากกลับมาอยู่ได้ไม่นาน สุนทรภู่เกิดอธิกรณ์ (ความผิด) ขึ้น หลังจากที่สุนทรภู่ได้ไปทะเลาะวิวาทกับพระลูกวัด อาจด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง (บางแห่งสันนิษฐานว่าท่านเมาสุรา) ทำให้ถูกเจ้าอาวาสขับสุนทรภู่ออกจากวัด

สุนทรภู่เมื่อถูกขับออกจากวัดเลียบแล้ว ก็กลับมาอยู่ในสภาพตกระกำลำบาก ไร้ที่อยู่อาศัยอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งสุนทรภู่เริ่มเบื่อหน่ายกับการจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ ทำให้ท่านตัดสินใจไปจำพรรษาที่วัดซึ่งห่างไกลจากความเจริญ โดยที่หลังจากท่านได้รับกฐินในปลายปี พ.ศ.๒๓๗๑ ท่านก็ออกเดินทางไปกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) ไปพร้อม พัด ลูกชายคนโต โดยที่ลงเรือที่หน้าวัด และก็ออกเดินทางทันที แต่ปรากฏว่าท่านกลับมิได้ตัดสินใจจำพรรษาที่กรุงเก่าตามที่ได้ตั้งใจไว้

อย่างไรก็ดี ท่านเดินทางไปไหว้สักการะพระเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งตั้งอยู่ ณ ที่นั่น พร้อมด้วยหนูพัด ลูกชายคนโตนั่นเอง และหลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ได้เดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ แต่ได้ย้ายวัดมาจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และที่นั่นเอง สุนทรภู่ก็ได้แต่งนิราศภูเขาทอง อันเป็นนิราศเรื่องเยี่ยมที่สุดของท่าน และเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของวงการกวีไทย เพราะได้รับการยกย่องทั้งความไพเราะของบทกลอน และการดำเนินเรื่องที่ซาบซึ้งกินใจ โดยที่สุนทรภู่ได้บรรยายระยะเวลา ๓ ปี แห่งความลำบากของท่านขณะที่ท่านอุปสมบทอยู่ ซึ่งท่านลำบากมากจนแทบเอาชีวิตไม่รอด โดยท่านรำพันไว้ว่า

จะสึกหาลาพระอธิษฐาน โดยกันดารเดือดร้อนสุดผ่อนผัน
พอพวกพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ เธอช่วยกันแก้ร้อนค่อยหย่อนเย็น
อยู่มาพระสิงหะไตรภพโลก เห็นเศร้าโศกแสนแค้นสุดแสนเข็ญ
ทุกค่ำคืนฝืนหน้าน้ำตากระเด็น พระโปรดเป็นที่พึ่งเหมือนหนึ่งพัก
ดังไข้หนักรักษาวางยาทิพย์ ฉันทองหยิบฝอยทองไม่ต้องสึก
ค่อยฝ่าฝืนชื่นฉ่ำดังอำมฤค แต่ตกลึกเหลือที่จะได้สบายฯ

เมื่อพระสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม หรือวัดแจ้ง ปีพ.ศ.๒๓๗๒ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงฝากเจ้าฟ้ากลาง (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล มาลากุล) และเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสองค์กลาง และองค์น้อย ซึ่งมีพระชันษาได้ ๑๑ ปี และ ๘ ปีตามลำดับให้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ โดยที่สุนทรภู่ได้สั่งสอนจนพระโอรสทั้ง ๒ ทรงอ่านออกเขียนได้ และนอกจากนี้ สุนทรภู่ยังได้แต่ง เพลงยาวถวายโอวาท ซึ่งเป็นผลงานประเภทกลอนสุภาษิตเพื่อถวายแด่พระโอรสทั้ง ๒ อีกด้วย การมีศิษย์ชั้นเจ้าฟ้าเช่นนี้จึงทำให้พระสุนทรภู่อยู่สุขสบายขึ้น พระสุนทรภู่อยู่วัดอรุณราชวรารามราว ๒ ปี จึงข้ามฟากมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์

เล่ากันถึงสาเหตุที่พระสุนทรภู่ย้ายวัดมาก็เพราะสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงชักชวนให้มาอยู่ด้วยกัน สมเด็จฯ ทรงเป็นกวีองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์พระองค์หนึ่ง เพราะพระองค์ทรงมีความเชี่ยวชาญในการแต่งโคลงกลอน ลิลิต และฉันท์ พระนิพนธ์ของพระองค์นั้นมีมาก ที่สำคัญและมีชื่อเสียงเช่น ลิลิตตะเลงพ่าย, กฤษณาสอนน้อง(คำฉันท์), สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนท้าย) เป็นต้น และเนื่องจากสมเด็จฯ ทรงคุ้นเคยกับสุนทรภู่ในฐานะที่เป็นกวีด้วยกัน โดยเฉพาะสมัยที่สุนทรภู่เป็นขุนสุนทรโวหารในรัชกาลที่ ๒ ทำให้สุนทรภู่ได้ย้ายที่จำพรรษามาอยู่ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทันที หลังจากบวชได้ประมาณ ๗ - ๘ พรรษา ซึ่งในขณะนั้น พระสุนทรภู่มีอายุได้ ๔๕ ปี

แต่เมื่อบวชเรียนอยู่ไปได้ไม่นานนัก ชีพจรลงเท้าสุนทรภู่อีกครั้งเมื่อท่านเกิดไปสนใจเรื่องเล่นแร่แปรธาตุ และยาอายุวัฒนะ ถึงแก่อุตสาหะไปค้นหาถึงที่ซึ่งการค้นหายาอายุวัฒนะของท่านในครั้งนี้ ทำให้เกิดนิราศวัดเจ้าฟ้า ขึ้นมา โดยที่นิราศวัดเจ้าฟ้าได้บรรยายเรื่องเล่าการไปขุดค้นหายาอายุวัฒนะของท่านที่กรุงเก่า(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) อีกด้วย

ต่อมาไม่นานนัก สุนทรภู่ก็ได้ไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ หลังจากที่ได้รับการเชิญชวนจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเคยผนวชที่วัดพระเชตุพนฯ วัดเดียวกันกับสุนทรภู่ แล้วทรงรู้จัก และคุ้นเคยสุนทรภู่เป็นอย่างดี เพราะทรงโปรดสักวาเป็นอย่างมาก และเมื่อพระองค์เจ้าลักขณานุคุณทรงลาผนวชแล้ว ก็ทรงไปประทับที่วังท่าพระ (ปัจจุบันคือบริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร) และก็ยังทรงชักชวนพระสุนทรภู่ให้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์อีกด้วย เพื่อให้พระองค์สะดวกในการอุปถัมภ์พระสุนทรภู่ โดยระหว่างที่พระสุนทรภู่จำพรรษาที่วัดมหาธาตุฯ นี้

สุนทรภู่ได้แต่งกลอน เฉลิมพระเกียรติพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับ นิราศอิเหนา ตอนบุษบาถูกลมหอบ ถวายแด่พระองค์เจ้าลักขณานุคุณทั้งสองเรื่อง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๓๗๖ สุนทรภู่ได้เดินทางไปนมัสการ พระแท่นดงรัง (ปัจจุบันอยู่ในต.ท่าเรือ อ.ท่าม่วง) ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยไปพร้อมกับสามเณรกลั่นลูกเลี้ยง โดยที่สามเณรกลั่นนั้นได้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง ขึ้นเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้มีบทกลอนตอนหนึ่งซึ่งได้บอกถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อพระสุนทรภู่ว่า

พระคุณใดไม่เท่าคุณพระสุนทร เหมือนบิดรโดยจริงทุกสิ่งอันฯ

ปรากฏว่าหลังจากที่สุนทรภู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์มาได้ ๓ ปี พระองค์เจ้าลักขณานุคุณก็ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อปีพ.ศ.๒๓๗๘ ทำให้สุนทรภู่ต้องกลับมาลำบากอีกครั้งหนึ่ง ครานั้น พระสุนทรภู่ได้ตัดสินใจย้ายที่จำพรรษาจากกวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ มายังวัดสระเกศ เพื่อที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับมารดาของท่าน (คือ แม่ช้อย) ซึ่งได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ และได้เก็บศพไว้ตั้งบำเพ็ญกุศล โดยยังมิได้ฌาปนกิจ

ครั้นถึงปีพ.ศ. ๒๓๗๙ ท่านตัดสินใจเดินทางไปยังเมืองสุพรรณบุรี (จ.สุพรรณบุรี) หลังจากที่ได้ทราบข่าวลือว่ามีการค้นพบแร่ชนิดหนึ่งที่จะแปรสภาพให้เป็นทองคำได้ ซึ่งการเดินทางในครั้งนั้นนับเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าการเดินทางครั้งที่ผ่านๆมาของท่านสุนทรภู่ เพราะการเดินทางครั้งนั้น ท่านเกือบเอาชีวิตไม่รอดจากฝูงโขลงช้างที่คอยปกป้องรักษา พระเจดีย์ที่สุนทรภู่คาดว่าเป็นที่ซ่อนแร่ดังกล่าว ซึ่งพระเจดีย์นั้นตั้งอยู่ในป่าลึกบริเวณเทือกเขาตะนาวศรี รอยต่อชายแดนไทย-พม่า ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ท่านสุนทรภู่ได้แต่งนิราศอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง นิราศสุพรรณ ซึ่งเป็นนิราศเพียงเรื่องเดียวในชีวิตของสุนทรภู่ ที่ได้แต่งเป็นโคลง เพราะตามปกตินิราศของท่านจะแต่งโดยใช้กลอนเพลงยาว (ภายหลัง เรารู้จักกันในชื่อ กลอนสุภาพ หรือ กลอนแปด) แต่ว่าจริงๆแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ถึงเหตุที่ สุนทรภู่ใช้โคลงในการแต่งนิราศสุพรรณว่า

เมื่อครั้นสุนทรภู่ได้ไปจำพรรษาที่วัดเทพธิดารามนั้น อาจเป็นไปได้ว่าสุนทรภู่ถูกสบประมาทว่าแต่งเป็นแต่กลอนเพลงยาว (กลอนสุภาพ หรือกลอนแปด) สุนทรภู่จึงได้ตัดสินใจแต่งนิราศสุพรรณให้เป็นโคลง และแต่งเรื่อง พระไชยสุริยา ซึ่งกำลังแต่งด้วยขณะที่ท่านสุนทรภู่จำพรรษาให้เป็นกาพย์ไปด้วย เพื่อพิสูจน์ให้ผู้อื่นเห็นว่าสามารถแต่งโคลง และกาพย์ได้เป็นเช่นกัน ไม่ใช่แค่กลอนเพลงยาวเพียงอย่างเดียว

หลังจากที่พระสุนทรภู่ได้เดินทางกลับมาจากเมืองสุพรรณบุรี ท่านก็ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๓๘๓ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระเจ้าพี่นางเธอของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ ทรงมีพระเมตตา และได้อุปถัมภ์พระสุนทรภู่โดยให้ย้ายที่จำพรรษาจากวัดสระเกศมาเป็นวัดเทพธิดาราม ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ โดยที่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงร่วมบริจาคทรัพย์ในการสร้างวัดนี้ และทรงเดินทางไปบำเพ็ญกุศลที่วัดเทพธิดารามนี้เป็นประจำ แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระชนมายุที่สั้น ทำให้ในปีพ.ศ.๒๓๘๘ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพเสด็จสิ้นพระชนม์ อันเป็นการสร้างความโทมนัสให้กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดายิ่งนัก

ในระหว่างที่ได้รับการอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระสุนทรภู่มีจิตใจที่สงบและปลอดโปร่งมากที่สุด ฉะนั้นเมื่อกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงพอพระทัยในนิทาน พระอภัยมณีที่สุนทรภู่ได้แต่งค้างไว้ยังไม่จบ ทำให้สุนทรภู่ต้องนำมาแต่งต่อ และขึ้นถวายเดือนละ ๑ เล่มสมุดไทย

นอกจากนี้แล้ว สุนทรภู่ยังเขียน กาพย์พระไชยสุริยา เป็นเรื่องราวสำหรับสอนศีลธรรมซึ่งสะท้อนสังคมในยุคสมัยนั้น พระสุนทรภู่แต่งออกเป็น ๓ ชนิด สำหรับสอนอ่าน ผัน และสะกด นอกจากนี้เหล่านิทานคำกลอนเรื่องต่างๆที่พระสุนทรภู่แต่งค้างคาไว้เมื่อครั้นรัชกาลที่ ๒ ก็นำออกมาแต่งต่อ ได้แก่เรื่อง สิงหไตรภพ ลักษณวงศ์ เป็นต้น

แต่แล้วหลังจากที่สุนทรภู่จำพรรษาได้ไปประมาณ ๓ พรรษา คืนวันหนึ่งหลังจากที่ท่านสวดมนต์ไหว้พระแล้ว ท่านจำวัดในกุฎิแล้วฝันไปว่า ตัวท่านนั้นกำลังว่ายน้ำอยู่ในทะเลใกล้จะหมดแรงแล้ว แต่ทันใดนั้นก็มีมือหนึ่งยื่นออกมาฉุดท่านไว้มิให้จมน้ำ ปรากฏว่าเป็นหญิงสาว แล้วพาท่านมาที่วัด ในฝันท่านเห็นพระศิลาขาวผ่องดั่งสำลี (คาดว่าเป็นหลวงพ่อขาว พระประธานในพระอุโบสถ วัดเทพธิดาราม) และพระทอง ๒ องค์ล้วนทรงเครื่อง (พระพุทธรูปทรงเครื่องในพระอุโบสถ ที่ประดิษฐานอยู่ ๒ ข้างองค์หลวงพ่อขาว) โดยที่ในความฝันนั้น ท่านอยู่ในหมู่เทพธิดานางฟ้าที่เข้ามารายล้อมตัวท่าน และต่างชวนท่านไปอยู่บนสวรรค์ แถมบอกท่านอีกว่าชะตาขาดจะต้องตายในปีนี้

หลังจากพระสุนทรภู่ตื่นจากความฝัน ท่านก็ตกใจมาก รีบจดวัน เดือน ปีที่ท่านฝันทันที ซึ่งตรงกับวันจันทร์ เดือน ๘ ปีขาล พ.ศ.๒๓๘๕ หลังจากนั้นท่านจึงแต่งรำพันพิลาป ขึ้น เพื่อเป็นการอำลาชีวิตสมณเพศของท่าน ซึ่งอยู่มานานถึง ๑๘ ปี โดยในรำพันพิลาปได้มีบทกลอนระบุเหตุด้วยดังนี้

โอ้ยามนี้ปีขาลสงสารวัด เคยโสมนัสในอารามสามวสา
สิ้นกุศลผลบุญกรุณา จะจำลาเลยลับไปนับนาน

และหลังพรรษาในปีนั้นนี่เอง พระสุนทรภู่ก็ตัดสินใจลาสิกขาบท ออกมาใช้ชีวิตทางโลกอีกครั้งหลังจากครองสมณเพศนานถึง ๑๘ ปี ซึ่งขณะนั้นท่านอายุได้ ๕๖ ปี แต่ว่าฝันนั้นดูแล้วไม่น่าจะเป็นลางร้าย กลับเป็นเหมือนลางบอกเหตุว่าสุนทรภู่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก่อนจะถึงวันสุดท้ายของชีวิตต่างหาก


สุนทรภู่ กวีเอกของโลก



สุนทรภู่ยังอยู่ในวัยเด็ก และกำลังเล่าเรียนอยู่ที่สำนักวัดชีปะขาว (วัดศรีสุดารามในปัจจุบัน)


[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]


บั้นปลายชีวิตสุนทรภู่

บั้นปลายชีวิต (พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๓๙๘): อายุ ๕๖ - ๖๙ ปี

สุนทรภู่ ในช่วงบั้นปลายชีวิต ก็เริ่มมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้สุนทรภู่ไปอยู่พระราชวังเดิม ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ในขณะนั้นด้วย (พระราชวังเดิม คือพระราชวังที่เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปัจจุบันเป็นที่ทำการกองทัพเรือ) ซึ่งทำให้ชีวิตของสุนทรภู่เริ่มมีความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ด้วยนิสัยนักเดินทาง เมื่ออาศัยอยู่ในพระราชวังเดิมนานประมาณ ๔ เดือน ก็เดินทางไปยังเมืองนครชัยศรี (ปัจจุบันคืออ.นครชัยศรี จ.นครปฐม) เพื่อไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ก่อนที่จะได้แต่งนิราศพระประธม ซึ่งเป็นนิราศเรื่องที่ ๘ ของท่าน บรรยายถึงการเดินทางไปในครั้งนั้น

แต่ว่าในปีพ.ศ.๒๓๘๘ หลังจากได้พึ่งพระบารมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ได้ประมาณ ๒-๓ ปี กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงเสด็จสิ้นพระชนม์ ซึ่งนั่นถือเป็นการสูญเสียผู้ที่อุปการะเมตตาสุนทรภู่อีกพระองค์หนึ่ง เพราะท่านได้อุปการะสุนทรภู่ให้มีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และทำให้สุนทรภู่ได้สานต่อผลงานของตนเองที่คั่งค้างไว้ให้สำเร็จบริบูรณ์ เป็นที่ประจักษ์สายตาแก่อนุชนรุ่นหลังของไทย ปรากฏว่าเมื่อปลายรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทรงโปรดให้สุนทรภู่ไปทำธุระส่วนพระองค์ที่เมืองเพชรบุรี ในปีพ.ศ.๒๓๙๒ ภายหลังจากที่เคยไปอยู่พึ่งบารมีของหม่อมบุนนาค (ชายาของกรมพระราชวังหลัง) ทำนาที่เมืองเพชรมาแล้ว ซึ่งจากการเดินทางไปเมืองเพชรบุรีครั้งนี้ สุนทรภู่ก็ได้แต่งนิราศเรื่องที่ ๙ ของท่าน ซึ่งถือเป็นเรื่องสุดท้ายในชีวิตนั่นคือ นิราศเมืองเพชร

เมื่อวันพุธขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ทรงมีพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษา และทรงอยู่ในราชสมบัติประมาณ ๒๗ ปี ทำให้เหล่าเจ้าฟ้าข้าราชบริพารตัดสินใจเลือก สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฎสมมุติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ซึ่งทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลานานถึง ๒๗ ปี (ตลอดรัชกาลที่ ๓) ให้ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และทันทีทันใดที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงโปรดให้ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)

เป็นเวลานานถึง ๙ ปีที่สุนทรภู่ไปพึ่งพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระราชวังเดิม นับตั้งแต่ลาสิกขาบทเมื่อพ.ศ.๒๓๘๕ และตามเสด็จมา อยู่ที่วังหน้า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสุนทรภู่เป็น เจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ในปีพ.ศ.๒๓๙๔ ขณะมีอายุได้ ๖๕ ปี โดยระหว่างที่รับราชการ

ณ พระราชวังบวรสถานมงคลนั้น พระสุนทรโวหารได้แต่งบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวายแด่พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และแต่งบทกลอนถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายเรื่อง เช่นบทเห่กล่อมทั้งหมด ๔ เรื่อง ซึ่งใช้กล่อมเจ้านายขณะที่ทรงพระเยาว์ให้ทรงหลับ โดยที่บทเห่กล่อมทั้ง ๔ เรื่องนี้ ใช้กล่อมบรรทมเจ้านายทั้งพระบรมมหาราชวังตลอดสมัยรัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งเสภาพระราชพงศาวดาร อีกเรื่องหนึ่งด้วย

พระสุนทรภู่โวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลได้รับราชการไปได้ ๔ ปี ก่อนที่ท่านจินตกวีเอกของไทย และของโลกผู้นี้จะถึงแก่อนิจกรรมอย่างเป็นสุข เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ สิริอายุได้ ๖๙ ปี ผู้ที่สืบเชื้อสายจากสุนทรภู่นั้นใช้นามสกุลว่า ภู่เรือหงษ์

หลังจากท่านสุนทรภู่ถึงแก่อนิจกรรมได้ ๑๓๑ ปี ท่านได้รับเกียรติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ได้รับการยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลก เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม หรือนัยหนึ่งคือเป็นกวีเอกของโลก เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านนับเป็นผู้ที่ได้รับเกียรติเป็น คนที่ ๕ และเป็นสามัญชนคนแรกที่ได้รับเกียรติถึงขั้นเป็นกวีเอกของ

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีขับรถอย่างปลอดภัย


การขับแบบ "อาจจะ"


"อาจจะ" คือการคาดคะเนล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตราย
ได้ อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ขับขี่
ขาดการคาดคะเนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา
จึงก่อให้เกิด อุบัติเหตุมากมาย ตัวอย่างเช่น การขับรถ
ผ่านรถเมล์ซึ่งกำลังจอดรับผู้โดยสารอยู่ข้างหน้า ถ้าผู้
ขับขี่เพียงแต่คาดคะเนว่า "อาจจะ"มีคนกำลังจะข้าม
ถนนโดยที่รถเมล์บังอยู่ก็ได้ อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าคิดว่า "คงจะ" ไม่มีคน หรือไม่
ได้คิดอะไรเลย เกี่ยวกับรถเมล์ หรือคนเดินข้ามถนน
แล้วขับรถผ่านไปตามปกติ ก็อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
ชนผู้ที่กำลังจะข้ามถนนได้

การที่มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่าไม่มี อะไร


จากตัวอย่างที่แล้ว ถ้าลองฟังเหตุผลของผู้ขับขี่ที่ได้ก่อ
อุบัติเหตุชนคนข้ามถนนจะได้ความว่า "อยู่ดีๆ ก็มีคน
โผล่พรวดออกมา ช่วยไม่ได้จริงๆ" ซึ่งเป็นคำตอบที่
แสดงให้เห็นว่า ยังไม่ได้ตระหนักถึงสาเหตุที่แท้จริง
ที่ตนขาดการคาดคะเนล่วงหน้าถึงอันตรายที่จะเกิด
ขึ้นได้ การที่มองไม่เห็นไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไร
อยู่ข้างหน้า รถที่กำลังจอดอยู่ "อาจจะ" มีคนกำลังข้าม
ถนน และถ้ามีคนออกมากระทันหันจริงๆ แล้ว ก็จำเป็น
ต้องคิดหาวิธีป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การลดความเร็วลง
เป็นต้น แม้ความเร็ว 40 กม./ชม. จะทำให้ชนคนได้
ทว่าความเร็ว 20 กม./ชม. จะทำให้สามารถหยุดรถได้
อย่างปลอดภัยทันท่วงที


เทคนิคในการคาดคะเนอันตราย
คนเราถ้าปิดตาอยู่ก็จะขับรถไม่ได้หรือถึงแม้ลืมตาแต่
จิตใจไม่อยู่กับตัว หรือมองไปยังสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ
ขับรถเลย ก็ไม่ถือว่าเป็นการขับรถอย่างปลอดภัย
การรับรู้สถาพต่างๆ ที่อยู่ข้างหน้าอย่างถูกต้อง
ในระหว่างการขับขี่จะต้องระมัดระวังข้างหน้า- หลัง
-ซ้าย-ขวา อยู่ตลอดเวลาและจำเป็นจะต้องรับรูู้้ให้ถูกต้อง
และรวดเร็วเกี่ยวกับสภาพของถนนว่ามีคนหรือรถอยู่หรือ
ไม่ มีการเคลื่อนไหวอย่างไร


รถ B เห็นรถ C จอดอยู่ จึงลดความเร็วและหักรถ
เบี่ยงออกมา ส่วนรถ A มัวแต่มองผู้หญิงทางด้านซ้าย
มือ จึงไม่รับรู้ว่ารถ B ลดความเร็วลง จึงเกิดชนกันขึ้น

สังเกตให้ดีว่ามีหรือไม่
การขับขี่ให้ปลอดภัยนั้น จะต้องแน่ใจว่าที่ตรงนั้นไำม่มีคน หรือรถวิ่งออกมา เพราะถ้าทราบแน่ชัดว่าไม่มีคนหรือ
รถอยู่ที่นั่นแล้ว จึงสามารถบอกได้ว่าจะมีอันตรายหรือไม่ แม้ว่าในกรณีที่มองไม่เห็น เพราะหลบมุมสายตาอยู่ แต่ถ้า
ใช้ความสังเกต บางสิ่งบางอย่างก็ช่วยลดอุบัติเหตุได้



การคาดคะเนการเคลื่อนไหวของรถคันอื่นและผู้ใช้ถนน
การเห็นเพียงว่ามีรถคันอื่น หรือคนอยู่ในบริเวณนั้นยังไม่้เป็นการเพียงพอ ผู้ขับรถจำเป็นจะต้องคาดคะเนได้อย่างถูก
ต้องว่า คนหรือรถนั้นจะเคลื่อนไหวไปอย่างไร ตัวอย่างเช่น กรณีที่เป็นคนเดินถนน ควรสังเกตจากการเคลื่อนไหวของ
เขาจากสายตาและมุมที่ยืน
เขากำลังจะทำอะไร
เขาทราบหรือไม่ว่า มีรถกำลังมา เป็นต้น
จึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและคาดคะเนให้ถูกต้อง


ในกรณีที่ไม่สามารถคาดคะเนการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้จะต้องลดความเร็วลง แม้คนหรือรถจะ
อยู่ในสภาพไม่้ได้ระมัดระวังเลยก็ตาม ผู้ขับขี่จำเป็นต้องคิดมาตราการเพื่อความปลอดภัยมาแก้ไขสถานการณ์ล่วง
หน้า.

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักฬนการดำเนินชีวิต


ด้านหลักคิดในการดำเนินชีวิต
“ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงาม สำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 มิถุนายน 2496
“การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้ จะมีผลดีไม่เฉพาะแกผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502
“ประเพณีทั้งหลายย่อมมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของคนแต่ละคน เรามีประเพณีของชาติไทยเป็นสมบัติ เราควรยินดีอย่างยิ่งและช่วยกันส่งเสริมรักษาไว้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ”
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 21 เมษายน 2503
“ความรู้จักอดทนและอดกลั้น ไม่ยอมตัวยอมใจให้วู่วามไปตามเหตุการณ์ตามอคติและอารมณ์ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจนั้น ทำให้เกิดมีการยั้งคิดและธรรมดาคนเรา เมื่อยั้งคิดได้แล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะพิจารณาเรื่องที่ทำ คำที่พูด ทบทวนดูใหม่ได้อีกคำรบหนึ่ง การพิจารณาทบทวนเรื่องใดๆใหม่ ย่อมจะช่วยให้มองเห็นละเอียดชัดเจนขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจอันกระจ่างสว่างไสวขึ้น”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14 กันยายน 2516
“การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม 2516
“ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือเหตุ สิ่งที่ได้รับคือผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก ดังนั้นที่พูดกันว่าให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือ กรรมของตนให้ดีนั่นเอง”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519
“การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญและไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้วถึงแม้จะไม่มีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20 ตุลาคม 2520
“ความบังคับตนเองนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึกระลึกได้ว่า อะไรเป็นอะไรหรือเรียกสั้นๆ ว่า สติ กล่าวคือ ก่อนที่บุคคลจะทำ จะพูด หรือแม้แต่จะคิดเรื่องต่างๆ สติหรือความรู้สึกระลึกได้นั้นจะทำให้หยุดคิดว่า สิ่งที่จะทำนั้นผิดชอบชั่วดีอย่างไร จะมีผลเสียหายหรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรต่อไปในระยะยาว”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง 7 กรกฎาคม 2520
“การดำเนินชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทนก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้วไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ
พระราชดำรัสพระราชทานแก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนจิตรลดา 27 มีนาคม 2523
“คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ ประการแรกคือ การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม”
พระราชดำรัสพระราชทานในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า 5 เมษายน 2525
“การใช้หลักวิชาหรือใช้ทฤษฎีให้เกิดประโยชน์ได้แท้จริงนั้น จะต้องใช้ให้ถูกต้อง และสอดคล้องพอเหมาะ พอดี กับความเป็นอยู่ ความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม ตามสภาพที่เป็นจริงในภาคพื้นต่างๆ”
พระราชดำรัส ในพิธีทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเหรียญทองเฉลิมพระเกียรติคุณฯ 21 กรกฎาคม 2530
“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝน อบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเองเพื่อจัดได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง”
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2531
“โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ ฉะนั้นก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไป ควรพิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อน แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสำพุทธเจ้ายังทรงแนะนำให้ใช้สติและปัญญาศึกษาค้นคว้าและไตร่ตรองให้แน่ว่า คำสั่งสอนนั้น เป็นความจริงที่เชื่อได้หรือไม่ ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อเพราะว่ามีผู้รู้บัญญัติไว้”
พระราชดำรัสในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของ 5 สถาบัน 3 ตุลาคม 2532
“อาจมีสิ่งที่มีอยู่แล้วที่จะใช้ไปได้ชั่วคราว คุณภาพอาจไม่ค่อยดีนัก ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าต้องใช้อะไรที่พอใช้ได้ไป ไม่อย่างนั้นไม่มีวันที่จะมีชีวิตรอดได้”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2534
“ประเทศไทยจะสามารถพ้นวิกฤตการณ์ได้ดีกว่าหลายประเทศ เพราะแผ่นดินนี้ยังเหมาะสมกับความเป็นอยู่ได้ อย่างที่เคยพูดมาหลายปีแล้วว่า ภูมิประเทศยัง”ให้” คือความเหมาะสม แต่ความเป็นอยู่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องอยู่อย่างประหยัด และต้องไปในทางที่ถูกต้อง
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540
“การกู้เงินที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ได้ อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงินและทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับจะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540
“คนเราเมื่อมีความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่ ก็จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ ข้อสำคัญในการสร้างตัวฐานะนั้น จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 ธันวาคม 2540
“คนเราถ้าพอใจในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
“คำว่าพอเพียงความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
“ให้พอเพียงก็หมายความว่า มีกิน มีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้แต่ว่าพอ แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนามาช้านานแล้ว มาบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี่ดีมาก แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น หมายความว่า ถ้าทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่ของประเทศก็จะพอ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงและทำได้เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
“อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือ ระบบพอเพียง เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น SELF-SUF-FICIENCY (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้กว้างขวางกว่า SELF-SUFFICIENCY คือ SELF-SUFFICIENCYนั้น หมายความว่า ผลิตอะไร มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541
“ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”
พระราชดำรัสพระราชทานในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ 50ปี
“พอมีพอกินนี่ได้พูดมาหลายปี สิบกว่าปีแล้ว ให้พอมีพอกิน แต่ว่าพอมีพอกินนี้ เป็นเพียงเริ่มต้นของเศรษฐกิจ เมื่อปีที่แล้วบอกว่า ถ้าพอมีพอกิน คือ พอมีพอกินของตัวเองนั้นไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน สมัยหินนั้นเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน แต่ว่าค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน มีการช่วยระหว่างหมู่บ้าน หรือระหว่างจะเรียกว่าอำเภอ จังหวัด ประเทศ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน มีการไม่พอเพียง จึงบอกว่าถ้ามีเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะพอแล้ว จะใช้ได้”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542
“ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกันแลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว พอเพียงในทฤษฎีหลวงนี้ คือ ให้สามารถที่จะดำเนินงานได้”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542
“ทั้งหมดนี้ พูดอย่างนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง เศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ย้ำแล้วย้ำอีกแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า SUFFICIENCY ECONOMY ใครต่อใครก็ต่อว่า ว่าไม่มี SUFFICIENCY ECONOMY แต่ว่าเป็นคำใหม่ของเราก็ได้ ก็หมายความว่า ประหยัด แต่ไม่ใช่ขี้เหนียว ทำอะไรด้วยความอะลุ้มอล่วยกัน ทำอะไรด้วยเหตุและผล จะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแล้วทุกคนจะมีความสุขแต่พอเพียง”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2543
“การให้ยังเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขอีกด้วย กล่าวคือ ผู้ให้ก็มีความสุขมีความอิ่มเอิบใจ ผู้รับก็มีความสุข มีกำลังใจ สังคมส่วนรวมตลอดถึงประเทศชาติก็มีความผาสุก มีความร่มเย็น”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2545

พระบรมราโวท


“อนาคตของชาติทุกชาติย่อมขึ้นอยู่แก่เด็ก เพราะเด็กก็คือผู้ใหญ่ในเวลาข้างหน้า ถ้าบุคคลได้รับการอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นพลเมืองดีอยู่ในศีลธรรม เคารพต่อบทกฎหมายของบ้านเมืองเสียตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้น พลเมืองของประเทศก็จะมีแต่คนดี และประเทศจะเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ก็โดยต้องมีพลเมืองดีดั่งว่านี้”
พระราชดำรัส ในพิธีเปิดศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
วันที่ 28 มกราคม 2495
“เยาวชนทุกคนมิได้ต้องการทำตัวให้ตกต่ำ หรือให้เป็นปัญหาแก่สังคมประการใด แท้จริงต้องการจะเป็นคนดีมีความสำเร็จ มีฐานะ มีเกียรติ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างราบรื่น แต่การที่จะบรรลุถึงความประสงค์นั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้แนะนำ ควบคุมให้ดำเนินไปโดยถูกต้อง”
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา
ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 28 พฤศจิกายน 2515
“เด็กเป็นผู้ที่ได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดังนั้นเด็กทุกคนทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง เหมาะสม ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณงามความดี มีความประพฤติเรียบร้อย สุจริต และมีปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุผล”
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครูและอาจารย์ 27 ตุลาคม 2516
“ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง”
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก วันที่ 18 พฤศจิกายน 2530
“ความรู้ประโยชน์แท้จริงของสิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องปลูกฝังให้หยั่งลึกในตัวเด็ก เด็กจักได้เติบโตเป็นคนฉลาดเที่ยงตรง และสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ที่พึงประสงค์ให้แก่ตนแก่ส่วนรวมได้แน่นอนมีประสิทธิภาพ
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก วันที่ 14 มกราคม 2532

วัข้าราชการไทย


"ข้าราชการไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ระดับไหน มีหน้าที่อย่างไร ล้วนแต่มีส่วนสำคัญอยู่ในงานของแผ่นดินทั้งสิ้น ทุกคนทุกฝ่ายจึงไม่ควรจะถือตัวแบ่งแยกกัน หากต้องยกย่องนับถือให้เกียรติกัน สมัครสมานร่วมมือร่วมคิดกัน ให้การปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดินดำเนินไปอย่างมีเอกภาพ และได้ผลที่พึงประสงค์ สมบูรณ์พร้อมทุกส่วน"



พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2546

พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

วันที่ 30 มีนาคม ปีพุทธศักราช 2546



สารบัญ [ซ่อนสารบัญ]
1 ความเป็นมา
2 วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน
3 การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน
4 กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันข้าราชการพลเรือน


[แก้ไข] ความเป็นมา


ในปี พ.ศ.2522 อันเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2471 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน2472 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ส่วนข้าราชการต่างๆ และสมาคมที่เกี่ยว ข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการได้ร่วมกันจัดงาน " สัปดาห์การบริหารงานบุคคล " ขึ้นในระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน 2522 ซึ่งได้รับ ความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก

ต่อมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานทั้งหลายได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรมีการกำหนดวันขึ้นมาวันหนึ่ง เป็นวันของข้าราชการพล เรือน เพื่อที่ทางราชการจะได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานของข้าราชการพลเรือนที่ได้ปฏิบัติมา ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของข้า ราชการ และเพื่อให้ข้าราชการพลเรือนทุกคนได้มีโอกาสทบทวนบทบาทหน้าที่ที่ผ่านมา เพื่อจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศต่อไป

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงได้นำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากเป็น วันที่ตรงกับวันประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือวันที่ 1 เมษายน 2472 และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ มีมติเห็นชอบ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จึงได้จัดงานวันข้าราชการพลเรือนขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 เป็นต้นมา

[แก้ไข] วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน


วันข้าราชการพลเรือน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุก ปี สืบเนื่องจาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพุทธศักราช 2471 ซึ่งเป็นการจัดระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เป็นมาตรฐาน มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471 จึงได้ถือวันนี้เป็นวันข้าราชพลเรื่อนตั้งแต่นั้นมา และการจัดงานในวันข้าราชการพลเรือนก็มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในการเป็นผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม

2. เพื่อให้ข้าราชการได้ตระหนักถึงเกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าราชการ อันจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อข้าราชการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น

3. เพื่อเผยแพร่ผลงานใหม่ๆของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน

4. เพื่อยกย่องส่งเสริมข้าราชการที่มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดีเด่น รวมถึงการเผยแพร่เกียรติคุณข้าราชการดีเด่นให้ปรากฎ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการกระทำความดีตลอดไป

5. เพื่อให้วันข้าราชการพลเรือน (1 เมษายน) เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำ และเป็นที่ยอมรับของข้าราชการและประชาชน โดยทั่วไป

[แก้ไข] การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน


การจัดงานในวันข้าราชการพลเรือน ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 งานส่วนใหญ่เป็นการมอบเกียรติบัตรยกย่องสดุดีข้าราชการดีเด่น ในกส่วนกลางนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในส่วนภูมิภาคผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2524 ได้จัดให้มี "โครงการคัดเลือกข้าราชการตัวอย่างที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โครงการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น" โดยคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา และได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตร แก่ข้าราชการดีเด่นในงานวันข้าราชการพลเรือนของทุกๆ ปีจนถึงปัจจุบัน

ในการจัดงานวันข้าราชการพลเรือนในแต่ละปี จะมีการกำหนดหัวข้ออันเป็นจุดเน้นของงาน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสำคัญของ ภารกิจนั้นๆ ในแต่ละปีด้วย เช่น

ปี พ.ศ. 2522 เน้นบทบาทหน้าที่ขององค์การกลางบริหารงานบุคคลในราชการพลเรือน
ปี พ.ศ. 2523 เน้นการเสริมสร้างวินัยของข้าราชการพลเรือน
ปี พ.ศ. 2524 เน้น "เกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ เป็นคุณสมบัติของข้าราชการ "
ปี พ.ศ. 2525 เน้นการเสริมสร้างจริยธรรมโดยแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ และแนวในการดำเนินการที่จะช่วยเสริมสร้างจริยธรรมให้ แก่ข้าราชการพลเรือน และร่วมสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
ปี พ.ศ. 2526 เน้นข้าราชการกับการพัฒนาชนบท
ปี พ.ศ. 2527 เน้นข้าราชการกับการพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน
ปี พ.ศ. 2528 เน้นข้าราชการกับการให้บริการสาธารณสุขและการส่งเสริมค่านิยมไทย
ปี พ.ศ. 2529 เน้นข้าราชการกับการให้บริการประชาชน
ปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับข้าราชการพลเรือน
ปี พ.ศ. 2531 ข้าราชการกับโครงการพระราชดำริ
ปี พ.ศ. 2532 ทศวรรษหน้าของข้าราชการพลเรือน
ปี พ.ศ. 2533 การพัฒนาคนเพื่อสนับสนันการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปี พ.ศ. 2534 การส่งเสริมสินค้าส่งออก
ปี พ.ศ. 2535 คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ปี พ.ศ. 2536 การคมนาคม กับการพัฒนาประเทศ



[แก้ไข] กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันข้าราชการพลเรือน


ในวันนี้ข้าราชการพลเรือนจะร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ว่าการบริจาคโลหิต การช่วยเหลือสงเคราะห์ในองค์กรต่างๆ และกิจกรรมเชื่อมความสามัคคี เช่น การแข่งกีฬา ฯลฯ

5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก


5 มิถุนายน ของทุกปี ประชาชาติทั่วโลกได้กำหนดให้เป็น วันแห่งการร่วมมือระหว่างชาติของทั่วโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม WORLD ENVIRONMENT DAY

หากนับย้อนไป ณ จุดเริ่มแรกของวันดังกล่าวที่ได้มีการตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยมีรัฐบาลของประเทศสวีเดนเป็นเจ้าภาพ เรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" ( UN Conference on the Human Environment )

ในการประชุมครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ และมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เพื่อพิจารณาร่วมกันในการที่จะหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆกำลังเผชิญอยู่ ผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายๆอย่าง อาทิเช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี โดยมีความห่วงใยในเรื่องของ ดิน น้ำ มลพิษทางอากาศ ในฐานะที่ทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล จึงได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้คือ
1. การสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไป
2. ให้การสนับสนุนทางวิชาการ เผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
3. เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

นอกจากนี้แล้วผลจากการประชุมรัฐบาลของประเทสต่างๆได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และต่อมาในปี พ.ส. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ
1. กรมควบคุมมลพิษ
2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม และเกื้อหนุนให้เกิดความตื่นตัวและสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางมากขึ้น

ถึงเวลาแล้วที่หมู่มวลมนุษยชาติควรจะมาร่วมรณรงค์และประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมมือร่วมใจกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา โดยที่เรามาช่วยกันเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า เราทุกคนควรมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สดใส สมบูรณ์สำหรับทุกคนในอนาคต

คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 2550 คือ Melting Ice - A Hot Topic
ส่วนภาษาไทย คือ "หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง"

ขณะที่ผู้คนทั่วโลก กำลังตื่นตัวอย่างหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และเหล่าผู้นำโลกตั้งหน้าตั้งตาถกกันเครียดเพื่อหาทางรับมือกับวิกฤตการณ์ใหญ่จากโกลบอล วอร์มมิ่ง คุณเชื่อหรือไม่คะว่า ด้วยกลเม็ดง่ายๆ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ประชากรโลกธรรมดาๆอย่างพวกเรา ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะ เรือนกระจก หรือกรีนเฮาส์ เอฟเฟกต์ ได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง!!

ในนิตยสารไทม์ฉบับล่าสุด วันที่ 9 เมษายน 2007 มีการนำเสนอ แนวทางการชะลอวิกฤตการณ์โลกร้อนฉบับประชาชน ไว้อย่างน่าสนใจหลายประการ เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยแต่ละไอเดียเป็นเรื่องจับต้องได้ใกล้ๆตัว และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงไม่ยากจนเกินไป!!

14 กลเม็ดง่ายๆ กู้วิกฤติโลกร้อน กลเม็ดง่ายๆ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ก็สามารถช่วยกู้วิกฤติโลกร้อนได้ง่ายๆ

ไอเดียแคนดูแรกในการพิทักษ์โลกให้รอดพ้นจากภาวะโลกร้อนคือ
1. เปลี่ยนอาหารให้เป็นเชื้อเพลิง ในระยะหลายปีมานี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกทุ่มเทเวลาอย่างจริงจังให้กับการคิดค้น หาวิธีผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชพันธุ์ธรรมชาติ ไล่ตั้งแต่ ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, น้ำมันหุงต้ม ไปจนถึงเศษขยะ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ทดแทนพลังงานจากน้ำมัน ซึ่งนับวันมีแต่จะร่อยหรอลงเรื่อยๆ!! เห็นได้ชัดจากความเคลื่อนไหวของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่มงบประมาณเป็นสองเท่า สำหรับการทำวิจัยคิดค้นเชื้อเพลิงชีวภาพโดยเฉพาะ และดูเหมือนว่าเชื้อเพลิงที่ผลิตจากข้าวโพดเป็นก๊าซอีธานอลจะมาแรงแซงทางโค้ง กว่าใครเพื่อน เพราะ ทั้งเซฟเงินในกระเป๋า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

2. เปลี่ยนหลอดไฟใหม่เป็นแบบประหยัด คือวิธีเซฟค่าไฟในบ้านที่ฮิตฮอตที่สุดของที่สุด แม้รูปร่างหน้าตาของหลอดไฟซีเอฟแอล ที่เรียกกันติดปากในบ้านเราว่า หลอดไฟตะเกียบ ออกจะแปลกตาสักหน่อย แต่ประสิทธิภาพไฮโซมาก!! เพราะช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดไฟธรรมดาๆถึง 3-5 เท่า แถมยังมีอายุการใช้งานนานกว่าหลายเท่าตัว ปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมายหลายขนาด ทั้งหลอดไฟขนาด 26 วัตต์, 40 วัตต์ ไปจนถึง 100 วัตต์

3. จัดระเบียบการซักผ้าใหม่ ผลการศึกษาล่าสุดของสถาบันอุตสาหกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ค้นพบว่าขั้นตอนการซักผ้าและอบผ้าให้แห้ง กินพลังงานถึง 60% ของการผลิตเสื้อผ้าทั้งหมด และเสื้อยืดธรรมดาๆตัวหนึ่ง ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบ 4 กิโลกรัม!! คงไม่ถึงกับขอร้องคุณๆให้หยุดการซักผ้ารีดผ้าหรอกนะคะ!! แต่ถ้าอยากช่วยพิทักษ์โลกสีเขียวก็สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการจัดระเบียบการซักผ้ารีดผ้าใหม่ เช่น เปลี่ยนจากการซักผ้าด้วยน้ำอุ่นเป็นน้ำเย็น หรือไม่ก็รวบรวมเสื้อผ้าให้ได้กองโตพอสมควรก่อน ค่อยนำไปซักทีเดียว อย่างบ้านเรา แดดเปรี้ยงแรงดีอยู่แล้ว แค่นำเสื้อผ้าตากแดดตากลมให้แห้งตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องอบผ้าให้กินไฟและทำลายสิ่งแวดล้อม

4. จัดบ้านใหม่ให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ เชื่อหรือ ไม่คะว่า 16% ของพลังงานที่ใช้ภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นตัวการก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ในอเมริกา ฉะนั้น ลองหาเวลาว่างจัดบ้านใหม่ให้สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ และทิศทางลม แทนที่จะพึ่งเทคโนโลยีไฮเทคตลอดเวลา เพราะการใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายโลว์เทคๆช่วยเซฟพลังงานในบ้านได้ถึง 40%

5. ใส่เสื้อผ้ามือสองพิทักษ์โลก ในนิตยสารไทม์ฉบับล่าสุด ระบุไว้ว่า เสื้อผ้ามือสองเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเสื้อผ้าใหม่ เพราะการซื้อเสื้อผ้ามือสองช่วยหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง จากการผลิต และขนส่ง อันเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งยุคนี้วินเทจ ลุคเป็นที่นิยมอยู่ด้วย ช่วยกันคนละนิดนะคะ ทั้งอินเทรนด์ แถมยังลดวิกฤติโลกร้อน!!

อีกหนึ่งวิธีเซฟ เดอะ เวิลด์ที่เวิร์กมากๆ เห็นจะเป็น 6. การจัด สรรให้พนักงานทำงานใกล้บ้านที่สุด ฟาสต์ฟู้ดใหญ่ๆทั่ว อเมริกานำวิธีนี้มาใช้อย่างได้ผล!! เพราะแทนที่หนุ่มสาวคนทำงานจะสูญเสียพลังงานจากการขับรถไกลๆมาทำงานในแต่ละวัน ทำไมเราไม่หาสาขาที่ทำงานใกล้บ้านให้แมตช์กับพนักงานละคะ!! หรือถ้าฟังดูยุ่งยากเกินไปก็อาจตั้งเป้าหมายไปเลยว่า ต่อไปนี้ฉันจะหางานทำเฉพาะทำเลที่อยู่ใกล้บ้านเท่านั้น!!

ถ้าคุณเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวจริงละก็ ทิ้งบ้านหลังใหญ่ แถบชานเมือง ย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงด่วนจี๋!! เพราะเมืองใหญ่ๆอย่างแมนฮัตตัน, โตเกียว หรือลอนดอน ถือเป็นโซนของพลเมืองโลกหัวใจสีเขียวขนานแท้!! ชาวกรุงน้อยคนนักจะขับรถไปทำงาน ส่วนใหญ่นิยมเดิน, ขี่จักรยาน หรือไม่ก็ใช้บริการขนส่งมวลชน ซึ่งรวดเร็วและเปี่ยมประสิทธิภาพมากกว่า!!

7. จ่ายบิลค่าใช้จ่ายทางอินเตอร์เน็ต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ หันมาจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ามือถือ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต จะช่วยกู้วิกฤติโลกร้อนได้ อย่างมโหฬาร!! อย่างน้อยๆก็ช่วยลดการใช้กระดาษ ซึ่งนำไปสู่การตัดไม้ ทำลายป่า แถมยังช่วยลดความสิ้นเปลืองพลังงานจากการขนส่งกระดาษทั้งทางเครื่องบิน และรถบรรทุก รู้ไหมคะว่าวิธีนี้นอกจากจะประหยัดเวลาและเงินในกระเป๋าของคุณเห็นๆแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะลงถึงปีละ 1,450 ล้านตัน และจำกัดการแพร่กระจายของก๊าซกรีนเฮาส์ ปีละ 1.9 ล้านตัน

8. เปิดหน้าต่างรับลมแทนการเปิดแอร์ วิธีนี้ง่ายและคนไทยคุ้นเคยกันดี ผลการศึกษาของอเมริกาบ่งชี้ว่า 22.7 ตัน ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศมาจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ลองลดการใช้พลังงานและทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยการเปิดหน้าต่างภายในบ้านเพื่อรับลม แทนที่จะเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืน เพราะลมธรรมชาติจากภายนอกจะทำให้อากาศภายในบ้านเย็นสบายขึ้นในช่วงฤดูร้อน และอุ่นขึ้นในช่วงฤดูหนาว

9. ปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้ เรื่องนี้ควรรณรงค์ อย่างจริงจังในทุกออฟฟิศ เพราะการเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ ไม่เพียงแต่จะเปลืองไฟ แต่ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะปิดทิ้งหลังใช้ เสร็จทุกครั้งแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการประหยัดพลังงานยังแนะนำว่า การปิดคอมพิวเตอร์, โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ โดยใช้ปุ่มสแตนด์บาย พาวเวอร์ กินไฟในบ้านแบบไม่รู้ตัวถึง 75%...ปุ่ม off เท่านั้นที่เราต้องการ!!

10. ปิดไฟทุกครั้งที่เสร็จงาน ไม่เฉพาะแต่ช่วงพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานที่ควรรณรงค์เรื่องการปิดไฟในออฟฟิศ แต่บางออฟฟิศในเมืองใหญ่ๆยังขอความร่วมมือจากพนักงานให้ปิดไฟทุกครั้งที่ทำงานเสร็จ แม้บรรยากาศในออฟฟิศอาจดูมืดๆทึมๆไปบ้าง แต่ก็ช่วยเซฟพลังงานได้อีกหลายเท่าตัว เรื่องประหยัดไฟต้องยกให้ “สมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบธที่สองแห่งอังกฤษ” ทรงเป็นต้นแบบของโลก!!

11. ทายสิคะว่า ระหว่างการขับรถ BMW กับการกินเบอร์เกอร์บิ๊กแมค อะไรก่อให้ เกิดภาวะโลกร้อนหนักกว่ากัน!! คำตอบก็คือบิ๊กแมคค่ะ!! จากรายงานของนิตยสารไทม์ ระบุว่า อุตสาหกรรมผลิตเนื้อทั่วโลกก่อให้เกิดการแพร่กระจายก๊าซกรีนเฮาส์ ในชั้นบรรยากาศมากถึง 18%

12.เลิกบริโภคเนื้อสเต็ก เถอะนะคะ เพื่อให้ลูกหลานมีอากาศดีๆ ไว้หายใจในอนาคต!!

13. ปฏิเสธถุงพลาสติกลูกเดียว!! ใน แต่ละปีมีถุงพลาสติกถูกผลิตออกสู่ตลาดมากกว่า 50,000 ล้านถุง และมีเพียง 3% ของถุงพลาสติกที่นำไปรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง โดยถุงพลาสติกแต่ละใบต้องใช้เวลาถึงพันปีกว่าจะย่อยสลายหมดไปจากโลก!! ทางที่ดีช่วยกันรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติกจะดีกว่า แล้วหันมาพกถุงผ้าส่วนตัวไปช็อปปิ้งตามซุปเปอร์มาร์เกตแทน!!

14. ปลดเนกไท-ถอดสูททิ้ง บริษัทใหญ่ๆในญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่มการประหยัดพลังงานแนวใหม่ ด้วยการไฟเขียวอนุญาตให้พนักงานใส่เสื้อเชิ้ตธรรมดาๆ โดยไม่ต้องสวมสูทและผูกเนกไทมาทำงานในช่วงฤดูร้อนตับแตก เพื่อประหยัดค่าแอร์!! ปรากฏว่าได้ผลมาก เพราะฤดูร้อนที่ผ่านมา พี่ยุ่นสามารถลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้มากถึง 71,700 ตัน